๕๘ - เป็นพระ

สำเร็จ ได้เป็นพระ
ต้องมี สองอารมณ์
หนึ่งพอ สองยอมรับ
อารมณ์พอ ด้วยใจ
อย่าบังคับ ให้พอ
เสแสร้ง ให้เกิดพอ
ไม่ชอบใจ แล้วพอ
อารมณ์พอ ไม่จริง
ยอมรับ ก็ต้องใจ
ใจยอมรับ จริงจริง
ยอมรับ ด้วยจำใจ
โดนบังคับ ให้ยอม
เกรงใจ ต้องยอมรับ
รับ ไม่บริสุทธิ์
ใจฝืน ธรรมชาติ
ไม่เห็น ธรรมดา
เรียนรู้ ในสิ่งจริง
ธรรมชาติ สอนดี
ไตรลักษณ์ ให้นำหน้า
ทุกสิ่ง เป็นไตรลักษณ์
เข้าใจ ให้ทำใจ
คล้อยตาม ในสิ่งจริง
ยอมรับ ว่าเป็นจริง
หนีไม่พ้น ความจริง
ใจยอมรับ ยอมแล้ว
ยอมจริงจริง ใจยอม
ไม่ฝืน ธรรมชาติ
ปล่อยใจ ตามสภาพ
ไม่ยึดติด ปล่อยวาง
ทั้งดีเสีย ปล่อยไป
ใจพอ ไม่ดิ้นรน
สิ่งชอบ เราพอแล้ว
ไม่ชอบ เราวางด้วย
อารมณ์ต้าน ไม่มี
ไตรลักษณ์ ปักเป็นชัย
เข้าใจ ธรรมไตรลักษณ์
อารมณ์พอ สุขใจ
เฉยเฉย วางใจได้
ไม่ดิ้นรน ใฝ่หา
พอแล้ว สิ่งที่ชอบ
ไม่ชอบ เราก็พอ
ใจสงบ อุเบกขา
ใจยอมรับ ตั้งเด่น
ยอมแล้ว ทุกสภาพ
อะไรเกิด ช่างมัน
สุขทุกข์ ไม่เป็นไร
ไตรลักษณ์ เป็นหัวใจ
สำคัญ การเป็นพระ
เรียนรู้ ในไตรลักษณ์
เข้าใจ ให้แจ่มใส
รู้แล้ว ยอมรับเป็น
ยอมรับ ใจเป็นสุข
ใจทุกข์ รับไม่จริง
หม่นหมอง ก็ไม่ใช่
อารมณ์พอ ยอมรับ
ใช้คู่ ร่วมช่วยกัน
สองแรง พร้อมไตรลักษณ์
ไล่กิเลส พ้นจิต
กิเลสแพ้ สามสิ่ง
ใจพระ เริ่มปรากฏ
พระน้อยใหญ่ เหมือนกัน
เริ่มต้น จุดเดียวกัน
ดำเนิน ไปตามทาง
ไปที่หมาย เดียวกัน