อัตตา - อนัตตา
ท่านบอกว่า เวลานี้เลยกึ่งพุทธกาลมาแล้ว พวกเธอกำลังทำอะไรอยู่
คำว่า 'มี' กับ 'ไม่มี' คือ อัตตา ทำยังไงจึงจะเป็นอนัตตา
อุเบกขา อนัตตา
ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมะของพระพุทธเจ้าจบด้วยอนัตตา
ทาน ต้องจบด้วยอนัตตา ถ้าจบด้วยอัตตา ยังเป็นพราหมณ์ จบลงในโลกนี้เอง ยังไปไหนไม่ได้ ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ (ได้ยินตรงนี้แล้วสยองมาก ๆ )
กลับบ้าน (อินเดีย) หนนี้ มี (คุณธรรม) อะไรไปฝากที่บ้านบ้าง?
พราหมณ์สร้างเหตุเพื่อหวังผล พราหมณ์สอนว่า มีเหตุแล้วต้องมีผล อันนี้มีมาแต่ครั้งก่อนพุทธกาล ยังเป็นธรรมะของโลก (กิเลสธรรม) พราหมณ์สอนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
พุทธ...สร้างเหตุเพื่อพ้นทุกข์ เพื่อพ้นจากเหตุและผล พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอนัตตา สอนเหนือขึ้นไปอีก
บางอย่าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ห้าม แต่ไม่ทรงบัญญัติไว้ว่าต้องทำ เช่น พระเจ้าพิมพิสารท่านเห็นเปรตมาขอบุญ ท่านเลยกรวดน้ำ นี่เป็นพราหมณ์แท้ แต่พระพุทธเจ้าทรงไม่ห้าม แต่ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่าต้องทำ
แต่ฉันบูชาความดีนะ ฉันบูชาความดี...
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีมาก่อน... พระพุทธเจ้าท่านพลิกให้เป็นอนัตตา
เรากล้าพูดไหมว่า เราเป็นพุทธแท้ หรือเรายังเป็นพราหมณ์อยู่ สร้างเหตุเพื่อหวังผล ลองย้อนกลับไปดูการกระทำที่ผ่านมา สร้างเหตุเพื่อหวังผลกันหรือเปล่า
สร้างเหตุเพื่อหวังผล เป็นการสร้างอัตตา
อัตตาเป็นตัวสร้างความผูกพันในโลกนี้
...หวังผลบังหน้าที่ บังพรหมวิหาร ทำให้ก้าวข้ามผ่านวัฏฏสงสารไปไม่ได้
เวลาไม่ทำอะไรเลย ไม่มีโลภะ เวลาทำบุญแล้วเกิดโลภะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ทำอะไรเลยดีกว่า
ตัดความห่วงใย ความอาลัยอาวรณ์ซะ
ยามใดที่ต้องเสียสละทรัพย์ จะไม่ลังเล... ยามใดที่ทรัพย์ทำลาย ไม่ต้องเสียดาย
ไม่ต้องมีสิ่งล่อใจให้ทำ ถึงจะทำ ถ้าไม่มีสิ่งล่อใจ เราจะไม่ทำ นี่มันไม่ใช่
เราเสียดาย ตัดตัวเสียดายออกไป อย่าลังเล ให้มีหน้าที่มากำกับด้วยพรหมวิหาร ตัวกรุณา
อารมณ์ของเราต้องเป็นอารมณ์สร้างประโยชน์ ไม่ใช่หวังผลจากกรุณา ไม่งั้นจะเป็นกรุณาอัตตา
ไม่คิดว่า เราทำแล้วจะได้อะไร ไม่หวังผล กรุณาอนัตตา ไม่มีสิ่งล่อใจให้เราทำ
ทางรูปคือ มีผลตอบแทนทางธรรม ทางรูป คือ อานิสงส์ ทางนาม คือ ความรู้สึก
ให้ทานนี่ 10 บาท 20 บาท มันไม่รู้สึกนะ ถ้าเป็นหมื่น เสียดาย
ถ้าเป็นเศรษฐี 10 บาท 20 บาท ไม่รู้สึก ไม่เสียดายนะ
ถ้าซัก 200,000 นี่ คิดแล้ว เสียดาย
ตัดใจให้ไปเลยนะ ตัดตัวเสียดายไปซะ
เราทำเพื่อ ‘มี’ หรือทำเพื่อ ‘ไม่มี’
ทำเพื่อตัวเอง เป็น โลภะ
ทำเพื่อให้ประโยชน์เกิดขึ้น ทำโดยหน้าที่
ต้องไปขัดเกลา เพื่อเปลี่ยนวิถีของตนเอง
พวกเราไม่เข้าำใจ ก็หลงในสิ่งที่ตนเองทำว่า ถูกต้อง
ตัวอย่างเช่น คนอินเดียเชื่อว่าอาบน้ำในแม่น้ำคงคาแล้วจะได้ไปสวรรค์ เชื่ออย่างนี้้มาตั้งแต่พุทธกาล จนถึงทุกวันนี้ เชื่อลึกฝังแน่น บัวมีสี่เหล่านะ บางอย่างก็เปลี่ยนไม่ได้ ต้องเป็นแสนล้านปี ถึงจะค่อยเปลี่ยนได้ เราก็เคยชินกับการทำแบบนี้นะ ทำเพื่อหวังผล ยังดี ไม่ได้อยู่พวกเดียว มีเพื่อนเป็นชาวอินเดียที่ยังมีความเชื่อแน่นหนาในแม่น้ำคงคา
กลับไปคิดเองเองนะว่าเราเป็นยังไง อยู่ ยังทำเพื่ออัตตาหรือเปล่า ต้องแยกอัตตา แยกอนัตตานะ
ค่อยแยกเอาของปลอม ของไม่จริงออก พิจารณาว่า อันไหนเป็นของปลอม อันไหนเป็นของจริง ค่อยปลดของปลอมออกไป ให้เหลือของจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ พิจารณาดู
เรื่องบุญท่านไม่ปฏิเสธนะ ทำบุญด้วยหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดี ไม่ใช่ทำบุญเพื่อหวังผลเพื่อตัว เอง ถ้าทำเพื่อตัวเองเมื่อไหร่แม้แต่นิดเดียว จะกลายเป็นสร้างอัตตา แล้วจะไม่หลุดพ้นจากวัฏฏสงสารนี้ จะเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะนี้ ไปไม่ได้
เราทำไป ละไป ไม่ใช่ทำไปเพื่อยึด เพื่อหวังผล (ถามว่า ถ้าทำแล้วหวังให้คนได้ดี อ. บอกว่า เจ๊งแล้ว ทำเพื่ออัตตา - เดาเอาเองว่า อยู่ที่การตั้งจิตค่ะ ถ้าตั้งจิตด้วยความอยาก ก็เจ๊งอย่างที่ อ. บอก)
ต้องหัด ต้องฝึกแยกอัตตา แยกอนัตตา ให้ทำบ่อย ๆ นาน ๆ ทำทีไม่ได้ผล อะไรทำเพื่ออัตตา อะไรทำเพื่ออนัตตา
พระพุทธเจ้าท่านไม่ปฏิเสธอัตตา เราเห็นอัตตา เพื่อเปรียบเทียบกับอนัตตา เพื่อให้รู้ เป็นฐานให้ขึ้นไป
‘พระพุทธเจ้าท่าน รออยู่ที่อนัตตานะ’
อย่าปฏิเสธสิ่งที่เราทำอยู่ แต่ให้เราตั้งจิตใหม่ เรื่องบุญกุศลไม่ห้าม เพียงแต่ทำยังไงให้ดี เหมืองชฎิลพี่น้องที่บูชาไฟ ท่านก็ไม่ห้าม บูชาไฟก็บูชาไป ดี แต่ท่านเทศน์สอนว่า ไฟนี่ร้อน ไฟแห่งราคะ ไฟแห่งโลภะ ไฟแห่งโทสะ... พลิกนิดเดียว ปรับให้เหมือนพี่น้องชฎิล
จำไว้ว่า พระพุทธเจ้าคอยอยู่ที่ฐานที่ 2 ไม่ใช่ฐานแรก มรรคผลอยู่ที่ฐานที่ 3
ฐานหยาบ ๆ มี 3 ฐาน ฐานแรกเป็นธรรมของโลก เป็นกิเลสธรรม ฐานที่สองถึงจะเจอพระพุทธเจ้า (อนัตตา) ฐานที่สามเจอมรรคผลนิพพาน
ที่พูดมาทั้งหมด ให้จำไว้แค่นี้นะ
"แยกอัตตา และอนัตตา อันไหนคือ อัตตา อันไหนคือ อนัตตา การกระทำใด ๆ ทำเพื่ออัตตา หรือทำเพื่ออนัตตา"
ถ้าทำเพื่ออนัตตา เธอได้ไปแน่ ๆ
ถ้าทำเพื่ออัตตา เธอยังอยู่กับโลกนี้ เธอไม่ได้ไป...
ค่อย ๆ หัดไป ให้รู้เช่นเดียวกับท่านอัญญาโกณฑัญญะในครั้งที่พระพุทธเจ้า ท่านประกาศธรรมในครั้งแรก
มีท่านรู้คนเดียว อีกสี่ท่านยังรับไม่ได้ ยังไม่เข้าใจ
ค่อยไปพิจารณา ไปคิดดู แล้วแต่วิธีของแต่ละคนนะ ลองไปพิจารณาดู
ถ้าจะไป จะต้องแยกอัตตา แยกอนัตตาให้ได้นะ อันไหนเป็นอัตตา อันไหนเป็นอนัตตา
*11 กรกฎาคม 2552 / บ้านอ.ประเสริฐ
เอ่อ ถ้าผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะค๊า
ขวัญค่า @^^@
- แสดงความคิดเห็น
- 2764 reads