ธรรมสวัสดิ์

บันทึกธรรมะ ชุด "ธรรมสวัสดิ์" ของอาจารย์ จำนวน ๖๐ บท

AttachmentSize
PDF icon dhamswat.pdf271.51 KB
Microsoft Office document icon dhamswat.doc521.5 KB
Topic: 

ไหว้ครู

โลกมี แสงสว่าง
ยังชีวิต คงอยู่
ขาดแสง ชีวิตขาด
พระอาทิตย์ ผู้ให้
แสงอาทิตย์ มีคุณ
ทุกชีวิต อาศัย
ธรรม ต้องมีผู้นำ
ดวงจิต เพื่อหลุดพ้น
เอกบุรุษ ผู้แจ้ง
บรรลุ ธรรมวิสุทธิ์
นาม พระพุทธเจ้า
พระ ผู้บริสุทธิ์
ผู้รู้แจ้ง ไตรภพ
เมตตา ทุกหมู่เหล่า
ยากลำบาก ทรงสอน
ชี้ทาง ให้หลุดพ้น
พระ เป็นแสงสว่าง
เจิดจ้า ทั่วไตรภพ
พระ เป็นผู้นำทาง
ให้เราเรา เดินตาม
พระเป็นเลิศ ตัวอย่าง
ทุกดวงจิต เรียนรู้
ทุกวิชชา การสอน
เหมาะสม แต่ละคน
พุทธิญาณ สุดเลิศ
รู้วาระ ของจิต
อรหันต์ เกิดตาม
ด้วยธรรม พระผู้มี
บารมี พระพุทธ
หยุดมลทิน หม่นหมอง
พระคุณ เทิดเหนือหัว
ขาดพระ ชีวิตขาด
พระธรรม ทรงไว้ดี
ธรรม ของพระผู้มี
บริสุทธิ์ สุดบรรยาย
ใช้ทำลาย ความชั่ว
จิตหมองมัว กลับดี
จิตดี เกิดสดใส
ชีวิตสุข ด้วยคุณ
พระพุทธ พระธรรมนำ
สำนึก ในพระคุณ
จารึก ลงคัมภีร์
ด้วยเคารพ พระผู้มี
พร้อมมอบ ดวงฤดี
เกิด หมื่นแสนล้านปี
ไม่พบ พระพุทธธรรม
สู้เกิดทัน พระพุทธ
ชาติเดียว ก็เกินพอ
ปิดทอง หลังคัมภีร์
คัมภีร์ อรหันต์
สำเร็จ จึงปิดทอง
เทิดทูน ไว้เหนือเศียร
ขอบคุณ พระคัมภีร์
บันทึก การรู้แจ้ง
ให้เข้าใจ แนวทาง
ไม่หลง ไปทางผิด
ช่วยชี้แนะ ให้ทำ
เสริมกำลัง ที่ขาด
หยุดประมาท ขาดรู้
เตือนจิต ให้ตามครู
ครูผู้รู้ ชี้ทาง
ทำตาม ย่อมเกิดผล
มรรคผล สิ่งเชิดชู
แด่ครู ด้วยดวงใจ

๑ - นับถือ

ก่อนจะรัก นับถือ
ต้องรู้ เห็นความดี
รู้ซึ้ง ประทับใจ
มีคุณค่า คู่ควร
มอบใจ ยอมรับได้
นับถือ ยอมเดินตาม
โดนบังคับ กราบไหว้
เคารพ ให้ทำตาม
ยังไม่เห็น ความดี
ยอมนับถือ ตามกัน
ไม่รู้ซึ้ง ความดี
เขาไหว้ เราไหว้ตาม
เหมือนเป็นหวัด สูดดม
ไม่รู้กลิ่น ความหอม
ได้ดม แต่ไม่รู้
เหมือนโง่ ถือน้ำหอม
ไม่รู้ คุณค่าหอม
ความดี เรายอมรับ
ใครมีดี นับถือ
ดีมาก เราน้อมรับ
มีมาก คุณประโยชน์
เราน้อมใจ นับถือ
นับถือ ด้วยเหตุผล
ใจน้อม บูชาดี
ดั่งองค์ พระผู้มี
ผู้มาก ด้วยความดี
ชี้ธรรม หนทางสุข
หยุดวิบาก วัฏฏะ
เมตตา บริสุทธิ์
ทุกหมู่เหล่า ได้รับ
ที่ใดร้อน กลับเย็น
พระมอบ แต่สิ่งดี
พระองค์ ผู้มีคุณ
สงเคราะห์ ไม่เลือกหน้า
ลำบาก ยังไปโปรด
ให้บังเกิด มรรคผล
หลุดพ้น การเวียนเกิด
อรหันต์ มากองค์
หนึ่งองค์ หนึ่งคัมภีร์
ไม่ท้อ ต่อการสอน
มุ่งให้ได้ มรรคผล
แม้ลำบาก ทรงยอม
ด้วยมหา เมตตา
สัตว์โลก ได้พ้นภัย
แม้ล่วงลับ ดับขันธ์
บารมี ยังแผ่
ถึงคน ยุคหลังหลัง
ด้วยพระธรรม คำสอน
ถึงยุคเรา ผู้น้อย
ไม่ทัน พระผู้มี
บารมี พระองค์
ยังอยู่ ถึงตัวเรา
เป็นบุญ วาสนา
ได้เรียนรู้ หลักธรรม
เห็นจริง ตามคำสอน
เป็นจริง ความหลุดพ้น
หมดโง่ หมดสงสัย
เห็นความดี องค์พระ
พระผู้มี พระคุณ
มากล้น เต็มดวงใจ
ภูมิใจ ได้พบธรรม
พระพุทธ สิ่งดีเลิศ
เรายอมรับ นับถือ
น้อมกราบ เบื้องพระบาท

๒ - พุทธานุสสติ

พระองค์ ผู้รู้แจ้ง
พระเป็นเลิศ ตัวอย่าง
ดู กำลังใจพระ
บารมี เข้มข้น
การให้ ให้สุดสุด
ไม่กลัว ความหมดสิ้น
ให้แล้ว ยังให้เพิ่ม
ลำบากตัว ช่างมัน
ใจดี ให้ดีมาก
สิ่งชั่ว ไม่กระทำ
ดีแล้ว ให้มากดี
ดูไม่เห็น ความชั่ว
อยู่คนเดียว มั่นคง
ไม่พึ่ง อาศัยใคร
ใจมั่น ช่วยตัวเอง
เด็ดเดี่ยว ใจเป็นหนึ่ง
สติตั้ง หนักแน่น
แน่วแน่ ไม่หลงลืม
สร้างรู้ สร้างเข้าใจ
แตกฉาน มากปัญญา
มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ
ขยันทำ มากบ่อย
ลำบาก ก็ไม่ถอย
ทำได้ เพราะใจสู้
อดทน ไม่กลัวภัย
หนาวร้อน ไม่สะเทือน
ทนได้ ไม่อ่อนแอ
เจ็บป่วย อึดทนได้
จริงใจ ในสิ่งทำ
กล้าหาญ ในงานทำ
ไม่หลอก โกหกตัว
มัวหมอง ย่อมไม่มี
ใจตั้งแน่น มั่นคง
จริงใจ ไม่เปลี่ยนแปลง
ตั้งแล้ว ไม่ยอมถอย
มุ่งมั่น เต็มกำลัง
ใจเย็น ได้ลึกซึ้ง
แผ่ซ่าน ให้เบิกบาน
เอิบอิ่ม ใจเป็นสุข
ไล่มัวหมอง พ้นจิต
ความพอ สร้างได้มาก
หยุดดิ้นรน ขวนขวาย
พอแล้ว ใจสงบ
หมดอาลัย ทุกสิ่ง
พระมี กำลังใจ
สำเร็จ ได้มรรคผล
ตัวเรา ต้องเดินตาม
แบบอย่าง ขององค์พระ
ดูรู้ ให้เข้าใจ
เห็นวิถี ดำเนิน
สร้างตัว ตามแบบพระ
บารมี สิบอย่าง
เริ่มทำ ด้วยใจรัก
พอใจ ในสิ่งทำ
ได้น้อย ค่อยเพิ่มมาก
ขยับตัว ใส่ใจ
มุ่งมั่น ด้วยใจกล้า
ไม่ท้อแท้ อ่อนแอ
ไม่กลัว ไม่หวั่นไหว
ตายเป็นตาย ช่างมัน
ปรมัตถ์ บารมี
แลกได้ กับสิ่งดี
พระผู้มี นำทาง
เดินตาม ถึงที่หมาย

๓ - ศีล

สร้างตัว ให้เป็นศีล
เป็นนิสัย ตัวเรา
ไม่ทำ ให้เดือดร้อน
ไม่เบียดเบียน ทำลาย
หวังให้ คนอื่นสุข
อย่าเกิดทุกข์ เพราะเรา
กาย วาจา กระทำ
ไม่ล่วงเกิน ผู้ใด
เห็นภัย ของล่วงเกิน
ได้ทุกข์ใจ หม่นหมอง
ทุกข์ร้อน เพราะกระทำ
ใจเรา ไม่มีศีล
ศีลดี ใจย่อมดี
เป็นนิสัย ใจดี
เดือดร้อน ทำไม่เป็น
มุ่งร้าย ทำไม่ได้
เป็นคนดี ศีลดี
ทำดี ให้แจ่มใส
ใครใคร ไม่รังเกียจ
ทำด้วยใจ ยินดี
พอใจ เห็นความสุข
ได้สุข ไม่เบียดเบียน
คนดี มีศีลจริง
ศีลเกิด เป็นตัวเรา
ศีลของเรา เป็นเรา
ศีลเรา เราภูมิใจ
ศีลนอก ต้องรักษา
กำหนด กฎระเบียบ
ห้ามทำ ห้ามละเมิด
บังคับ อยู่ในกรอบ
ชอบ ไม่ชอบ ห้ามทำ
โดนบังคับ มีเครียด
ได้สุข ไม่สุขจริง
หลอกหลอก ปนความเครียด
ศีลไม่เป็น ศีลใจ
เป็นศีล กายบังคับ
บังคับ ให้ทำดี
แต่ใจ ไม่ดีพอ
ใจพร้อม ล่วงละเมิด
ถ้าแม้ ล่วงเกินเรา
ตอบโต้ แหกกฎเหล็ก
จิตเสีย ไร้ศีลดี
ของดี ไม่มีอยู่
สิ่งรักษา หายไป
ศีลกาย เป็นเช่นนี้
บังคับกาย ด้วยกฎ
บังคับใจ ไม่ได้
ยังให้โทษ คนอื่น
ทุกข์ร้อน เกิดจากเรา
หม่นหมอง เพราะเราร้าย
ทิ้งร้าย ให้ฝึกดี
ฝึกใจ ให้เป็นศีล
มองคน ในแง่ดี
อย่าเพ่ง อย่ามองร้าย
สร้างดี ให้ยินดี
ทุกคน หวังได้สุข
อย่ายื่นทุกข์ ให้ใคร
สำรวมใจ ตั้งดี
ทำดี ให้เกิดผล
พรหมวิหาร หัวใจ
เกิดศีล ที่ใจเรา
แสดงออก ดีพร้อม
ในนอก รวมกันดี
เช่นนี้ เป็นศีลจริง

๔ - สำรวม

ตั้งใจมั่น รู้ตัว
สำรวม พูด กาย ใจ
คำพูด อันดับหนึ่ง
เหตุเกิด เพราะคำพูด
หมางใจ ด้วยคำพูด
พูดไม่เข้า หูคน
พูดร้าย เกิดเรื่องร้าย
ใส่ร้าย ไม่ควรพูด
ยั่วยุ และส่อเสียด
พูดลบหลู่ ดูหมิ่น
พูดให้ คนอื่นเสีย
ติเตียน ล้อเลียนเขา
ทำลาย ผลประโยชน์
ผลชั่ว เพราะคำพูด
พูดไว ผิดพลาดบ่อย
พูดน้อย ไม่เข้าใจ
คำพูด ไร้จุดหมาย
พูดไป เข้าข้างตัว
คนเบื่อ ไม่อยากฟัง
อารมณ์เสีย หยุดพูด
พูดไป มีแต่เสีย
มีโกรธ ต้องหยุดพูด
เก็บปากเงียบ เฉยไว้
เดินหนี ดีกว่าพูด
ก่อนหนี ให้ส่งยิ้ม
สำรวม ในการพูด
ตั้งสติ ก่อนพูด
ใจตั้ง พูดเหตุผล
ตั้งใจ ให้พูดดี
พูดร้าย เราไม่พูด
พูดดี เกิดประโยชน์
ได้มิตร เพราะคำพูด
ควบคุมใจ ให้ดี
คำพูด จึงเป็นดี
สำเนียงพูด อ่อนหวาน
นุ่มนวล ชวนเป็นมิตร
ใครใคร อยากคบหา
ตั้งใจมั่น ไว้ดี
คำพูด พร้อมรอยยิ้ม
สุภาพ เป็นกันเอง
ให้คำพูด เป็นคุณ
คำพูด เป็นคำสอน
เข้าใจ ด้วยคำพูด
เกิดประโยชน์ ด้วยพูด
พูดดี คู่ฟังดี
เป็นนักฟัง ที่ดี
ตั้งใจฟัง คิดตาม
มีสติ การฟัง
แยกแยะ ได้เหตุผล
รู้ตาม ในสิ่งพูด
เหม่อลอย ขณะฟัง
ฟังความ ไม่รู้เรื่อง
คิดฟุ้ง ฟังไม่ดี
ขาดสติ การฟัง
ฟังไป คิดไปดี
ได้ปัญญา รู้ตาม
เป็นนักพูด ที่ดี
รู้จังหวะ โอกาส
ยกเหตุผล อ้างอิง
ประเมินผล คำพูด
แก้ไข เสริมให้ดี
คนฟังดี เกิดผล
สมประสงค์ ด้วยกัน
สุขสันต์ สวัสดี

๕ - สมาธิลม

กำหนดดู รู้ลม
มีละเอียด และหยาบ
ใช้ให้ถูก จังหวะ
ลมละเอียด ใช้คิด
นิ่ง ช้า เย็น สุขุม
เกิดความคิด ปัญญา
ลมหยาบ ใช้แก้ไข
เข้าแรง ให้เต็มปอด
เก็บลม แล้วปล่อยปาก
ช้าช้า ให้ยาวสุด
ทำซ้ำ หลายหลายครั้ง
ลดอาการ ร้อนรน
ฟุ้งซ่าน บรรเทาได้
เหมือนทิ้ง อารมณ์ร้าย
จิตเริ่มนิ่ง สบาย
ลมเบาเบา อ่อนโยน
ตามรู้ ลมเข้าออก
ไม่คิด เรื่องอื่นใด
รู้สึก แค่กองลม
เข้าออก ได้นุ่มนวล
ลืมตา รู้ทางลม
ลมควบคุม อารมณ์
เหตุกระทบ จับลม
เหตุแรง ใช้ลมหยาบ
สร้างลม ให้จิตคลาย
ใจตั้ง ที่กองลม
เหตุดี ลมละเอียด
สติมี ปัญญาดี
ลมนุ่มนวล จิตดี
แยกแยะ ได้เหตุผล
ลมดี คู่ปัญญา
สติตั้ง ปัญญาเดิน
ผ่องใส เมื่อเข้าใจ
ใช้ให้ถูก กองลม
หลับตา รู้ทางลม
ความคิด อยู่ที่ลม
สติคุม ความคิด
คิดเดียว คือกองลม
ต้องทำ ลมเบาเบา
ยาวไว้ ดีกว่าสั้น
เห็นใจยิ้ม เป็นสุข
จิตได้หยุด พักผ่อน
ผ่อนคลาย จิตว่างว่าง
สะสม กำลังจิต
เพิ่มกำลัง ปัญญา
คิดใด ย่อมเข้าใจ
ได้ดวงตา เห็นธรรม
เข้าใจธรรม ที่เดิน
จิตแปร ให้ลืมตา
กันจิต คิดฟุ้งซ่าน
ควบคุม ด้วยกองลม
ลมหยาบ หรือละเอียด
เลือกใช้ ให้ถูกกาล
ลมร้าย กลายเป็นดี
ทางลม เป็นเช่นนี้
ลมจิต เป็นคู่กัน
ลม จิต ผสมดี
รวมกัน เป็นสติ
ทุกเหตุ ต้องใช้สติ
ลมควบคุม ทุกเหตุ
รักดี ต้องสร้างลม
สติเกิด ปัญญาเกิด
มีบุญ วาสนา
ได้ขึ้นแท่น นิพพาน

๖ - เตรียมสติ

ให้จิตดู ค้นคว้า
ดีกว่า ท่องตำรา
ดูรู้ จากของจริง
ดูเหตุ อยู่เบื้องหน้า
สิ่งเกิดนั้น มีเหตุ
ค้นหา ต้นตอเหตุ
อะไร อยู่เบื้องหลัง
จากเหตุ มาเป็นผล
เหตุมาจาก ติดยึด
รักสุข เกลียดทุกข์จริง
หลงไหล หรือต่อต้าน
ใจผูกติด แน่นเกิน
โศกเศร้า ผสมสุข
สุขทุกข์ มั่วมั่วอยู่
อยู่อย่าง ธรรมชาติ
ทุกสิ่ง เป็นธรรมดา
พอใจ เป็นได้เรื่อง
เสียใจ ได้ปัญหา
ทุกสิ่ง ไม่เป็นเรา
เราไม่มี ทุกสิ่ง
เรามาศูนย์ ไปศูนย์
ของ ไม่ติดตัวไป
อยู่ได้ ให้พอดี
ขาดเกินดี มักเสีย
พอควร รู้เพื่อจาก
ใช้กิจ เพื่อประโยชน์
เตรียมจิต เตือนใจไว้
ทุกสิ่ง ต้องจากกัน
ทำใจ ให้ไม่มี
ไม่คิดเอา ทุกสิ่ง
ช่างมัน ที่มันเกิด
เป็นอะไร ก็ช่าง
อยู่ ก็ใช้มันไป
เราไป ก็เลิกใช้
กลัวหลงติด ไม่ปล่อย
ดึงหวงมัน เพื่อเรา
ตัวเรา มักคิดผิด
ของจริง เป็นส่วนกลาง
ไม่เป็นของ ของใคร
ไม่เป็นของ ของเรา
ยึดเขาเรา เป็นยุ่ง
มั่วมั่ว ยุ่งยุ่งเกิน
มากเกิน มักเสียหาย
น้อยไป ไม่พอการ
หาจุด พอดีไว้
เกินขาด เลิกสนใจ
ทำใจ ให้ใสใส
วางใจ ให้ไม่มี
ความคิด ต้องตั้งดี
อย่าฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ
ตั้งใจ มั่นสติ
คอยเตือน หากคิดชั่ว
สร้างพลัง ความคิด
แนวคิด ไปมรรคผล
ผิดทาง รีบดึงกลับ
ถูกทาง เสริมให้แกร่ง
กองลม ร่วมความคิด
เป็นสติ สมบูรณ์
คิดดี สติดี
ตัวรู้ เสริมกำลัง
ปัญญาดี เกิดตาม
รู้แจ้ง ในเหตุผล
เตรียมสติ ให้ดี
ทางดี เป็นของเรา

๗ - เตือนสติ

ระวัง จะหลงผิด
จิตสุข ยามสบาย
ร่างกาย ไม่ป่วยไข้
อารมณ์ดี สุขใจ
ทำใจ ได้ตอนสุข
เป็นสุขสงบ ปลอม
ทำใจ ตอนได้ทุกข์
เห็นจริง เป็นธรรมดา
ธรรมชาติ สร้างไว้
วางใจ ไม่ขัดขืน
ปล่อยวาง ธรรมดา
จิตสุข สงบใส
สุขนี้ เป็นสุขแท้
แยกแยะ ให้ถูกทาง
ปัญหา อยู่เบื้องหน้า
แท้จริง คือธรรมะ
ดีชั่ว ร่วมเป็นธรรม
ละวาง ทั้งดีเสีย
ไม่ผูกติด คิดหวัง
เกิดแล้ว ต้องจากไป
เดี๋ยวดี กลายเป็นเสีย
เดี๋ยวเสีย กลับเป็นดี
วนเวียน อยู่อย่างนี้
แสนล้านปี เหมือนกัน
อย่าหนีทุกข์ ทิ้งทุกข์
อย่ารักสุข เก็บสุข
ทุกข์สุข เป็นธรรมะ
ต้องละ ทั้งสุขทุกข์
เพ่งทุกข์ ยิ่งเป็นทุกข์
เจอทุกข์ อย่าหนีทุกข์
จับทุกข์ ไว้ศึกษา
หาเหตุ ต้นตอทุกข์
แยกแยะ หาเหตุผล
รู้เข้าใจ ให้วาง
ผลได้ คือใจสุข
ทุกข์ ไม่ใช่ของเสีย
มีคุณ ถ้าใช้เป็น
เปรียบได้ กับทุกสิ่ง
วิถีคิด เหมือนกัน
แตกต่าง ช่วงเวลา
ไม่ละเว้น ผู้ใด
ใครรู้ก่อน ไปก่อน
เตือนจิต ให้มุ่งดี
เส้นทาง มีดีเสีย
มรรคผล ผ่านทางดี
ทางเสีย ไร้มรรคผล
ทางกิเลส มัวหมอง
ไร้ปัญญา ความคิด
โกรธคิดดี ไม่เป็น
อยากได้ ใจขาดรู้
มัวหมอง ตลอดทาง
ขาดเหตุผล นำทาง
ทางเสีย ไม่ควรเดิน
มุ่งทางดี มีผล
เกิดปัญญา เข้าใจ
รู้ได้ ละวางได้
ทำดี ทำด้วยใจ
กำลังใจ สำคัญ
ทำ บารมีสิบ
ให้เข้มข้น หนักแน่น
สร้างใจ ให้พร้อมดี
พรหมวิหาร ต้องดี
ไตรลักษณ์ คู่การทำ
หมั่นทำ แล้วได้ดี

๘ - สติกลางตัว

เอาใจ ไว้ที่ตัว
ตามรู้ ทุกขั้นตอน
ตัวรู้ เห็นหน้าที่
งานทำ คือ คุมจิต
ถูกใจ ทำให้หลง
ผิดใจ ทำให้ติด
ผิดถูก ติดกันยุ่ง
ผิดเป็นเหตุ ไม่ชอบ
ไม่ชอบ เป็นเหตุโกรธ
โกรธ ทำสติเเตก
ใจตั้ง ที่ตัวรู้
ทำดี มีผิดถูก
เป็นประสบการณ์ ดี
เกิดข้อคิด ปัญญา
โกรธ ไม่มีวันดับ
คุมโกรธ ให้คงที่
คุมโกรธ ให้เชื่องเชื่อง
มีโกรธ เหมือนไม่โกรธ
ยังรู้โกรธ ไม่ชอบ
คุมชอบ และไม่ชอบ
ตั้งสติ ให้รู้
ยิ่งชำนาญ เหมือนดับ
อยากหลง ก็เช่นกัน
ทำ เหมือนกันหมด
ทางไกล สูง ไม่กลัว
มีเวลา ก็พอ
ตั้งใจ ให้มั่นคง
เชื่อมั่น ให้หนักแน่น
เข้าใจ ให้ถ่องแท้
อึดสู้ ไม่คิดถอย
ใจ ต้องรู้จักพอ
ใจ ต้องรู้จักให้
ใจ รู้จักยอมรับ
ใจ รู้จักปล่อยวาง
ใจ ต้องรู้จักจบ
ทำใจ ให้เย็นเย็น
อย่าทำใจ ให้ร้อน
อย่าทำใจ ให้เศร้า
อย่าทำใจ ให้อยาก
อย่าทำใจ ให้ท้อ
อย่าทำใจ ให้เสาะ
อย่าทำใจ ให้แพ้
ตั้งจิต ให้ใจยิ้ม
ทำจิต ให้ใสใส
ไม่สนใจ นอกตัว
เรื่องนอกตัว คือ วุ่น
ใส่ใจมาก ยิ่งทุกข์
สร้างจิต อุเบกขา
ทำใจ ให้ดีดี
เช่นนี้ คือหนทาง
ทางออก อยู่ตรงกลาง
ระหว่างกั้น ดีเสีย
พอใจ อยู่ในสุข
ติดสุข ทำให้หลง
ทุกข์ใจ เมื่อเจอผิด
หลงผิด ใจติดเศร้า
ใจรักสุข เกลียดทุกข์
เพราะใจ ออกจากตัว
ตั้งจิต ไว้ที่ตัว
ควบคุม ให้รู้ตัว
ตั้งจิต ไว้ตรงกลาง
วางสุขทุกข์ ภายนอก
ให้สนใจ ภายใน
สุขใน สงบแท้

๙ - ทุน

อยากได้เพชร ต้องซื้อ
เตรียมเงิน ให้มากพอ
เงินน้อย ซื้อไม่ได้
เพชรไม่อาจ ลอยมา
เราจะไป นิพพาน
เตรียมบุญ ไว้ให้มาก
บุญน้อย ไปไม่ได้
นิพพาน ไม่มาหา
นิพพาน ต้องมีธรรม
ธรรมเฉพาะ นิพพาน
ต้องสร้าง ให้มากพอ
เหมือนเพชร ต้องเงินมาก
เริ่มต้น ที่ตัวพอ
อารมณ์พอ เป็นทุน
สร้างให้มาก ไว้ดี
นิพพาน ดูไม่ไกล
ต่อเนื่อง ต้องมียอม
ใจยอม เสริมกำลัง
มากไว้ เพิ่มเป็นทุน
สิ่งดี ต้องมากพอ
ไม่พอ ไม่สำเร็จ
บารมี ต้องมี
เน้น บารมีสิบ
ทุกอย่าง ต้องมากไว้
ปล่อยละวาง ต้องมาก
แค่รู้ ไม่พอใช้
อยากได้ แต่ไม่ทำ
โมทนา ไม่ได้
เหมือนขี้เกียจ โง่เขลา
ไม่สร้างบุญ ให้ตัว
มัวแต่ขอ ไม่ทำ
เสียดาย เวลาเกิด
วันเวลา ผ่านเร็ว
โอกาสดี หายไป
จะเปลี่ยนชาติ ภพภูมิ
เงินทุน ไม่มีพอ
เห็นที ต้องลำบาก
รีบหาทุน สำรอง
ให้มากพอ เพื่อไป
บุญมาก ไปสวรรค์
บาปมาก หนทางเสีย
อบายภูมิ ต้อนรับ
คนโชคดี รู้ทัน
รีบสร้างบุญ ทำทุน
สิ่งชั่ว ให้งดเว้น
มัวหมอง ให้หยุดทำ
สร้างใจ คุมอารมณ์
คุมโกรธ โลภ กังวล
คุมได้ ให้เชื่องเชื่อง
อย่าให้ทุกข์ กินใจ
ผลร้าย แก้ไม่ทัน
สำคัญยิ่ง ความพอ
ยอมแล้ว ต้องมีไว้
บารมี เข้มข้น
มากไว้ ให้เป็นทุน
มากพอ เพื่อไปดี
ทุนน้อย หมดหนทาง
หมดโอกาส ไปดี
ไม่ทำ ดูยิ่งยาก
อยากได้ แต่ไม่มี
สิ่งดี ให้รีบสร้าง
บารมีสิบ หัวใจ
เป็นกำลัง ทุนใหญ่
ไปดี เพราะมีทุน

๑๐ - จิตรู้จิต

ดูจิต ซ่อนในจิต
เหมือนจิต ที่ซ่อนหา
ดูดีดี เห็นจิต
จิตเสวย อารมณ์
เหตุเกิด อารมณ์เกิด
เกิดชอบ และไม่ชอบ
เป็นนิสัย ของจิต
จิตต้องเกิด อารมณ์
เป็นไป ตามเหตุนั้น
สุขทุกข์ ที่รู้กัน
ห้ามจิตเกิด ไม่ได้
จิตต้องมี อารมณ์
เช่นจิต ที่ถูกโกรธ
จิตมีอาการ โกรธ
สั่นไหว อยู่ภายใน
ร้อนฉ่า มากด้วยร้อน
ยิ่งโกรธ ยิ่งร้อนฉ่า
ใจมืด สติหาย
ผลร้าย สติแตก
แยกตัวใคร ตัวมัน
หาจิตตัว ไม่เจอ
เจอแต่ ผีโกรธร้าย
ดูจิต ให้ดีดี
เห็นจิต ที่สั่นไหว
จิตเสวย อารมณ์
รับแล้ว ให้รีบปล่อย
ควบคุมจิต ให้ดี
ประคอง อย่าสั่นไหว
บังคับ ให้นิ่งก่อน
อย่าร้อนรน ตามเรื่อง
เหมือนมี เครื่องดับเพลิง
คอยดับ ยามไฟไหม้
ดับไฟ ก่อนไหม้หมด
ส่วนดี ยังมีเหลือ
ไฟไหม้ จนหมดเชื้อ
ของดี หมดไม่เหลือ
ไฟดับ มีสองอย่าง
ไหม้หมด หรือดับทัน
ไหม้หมด ต้องหลายวัน
ดับทัน ไม่ข้ามวัน
ที่ดับทัน คลายจิต
จิตกลับสดใส ดี
เห็นจิต ในจิตนี้
รู้จิต ที่อ่อนไหว
สร้างแรง ให้ตัวจิต
จิตต้อง ไม่ไหวง่าย
สร้างสงบ ในจิต
ให้จิต ควบคุมจิต
ควบคุม ให้คงที่
ไหวแล้ว รีบกลับดี
ประคองไว้ เช่นนี้
นานมี เกิดชำนาญ
จิตสุข ห้ามไม่ได้
จิตทุกข์ ห้ามไม่อยู่
จิต ต้องมีอารมณ์
จิต มีความรู้สึก
เป็นไปตาม เหตุเกิด
ทั้งดีเสีย เป็นหมด
เมื่อจิต กระทบเหตุ
จิตใน ต้องสงบ
จิตใน ตั้งสติ
ควบคุมเหตุ ที่เกิด
ควบคุม ให้สงบ
เหมือน สติในจิต

๑๑ - จิตควบคุมจิต

ตรวจดู ประเมินผล
ดูจิต รับอารมณ์
จิตชอบ เพราะยึดดี
หวังดี อยากได้ดี
จิตหมอง เพราะติดเสีย
ผิดหวัง เพราะได้ผิด
เหตุเพราะเรา ยึดติด
หวังได้ดี ทิ้งเสีย
สร้างหวัง ยิ่งติดยึด
สมหวัง ยิ่งผูกแน่น
ผิดหวัง เสียดแทงใจ
ดิ้นรน เพื่อสมหวัง
เหตุสบาย จิตสุข
จิตหลงใหล ในเหตุ
หวังเหตุ ให้ยืนยง
ติดยึด ให้หลงใหล
ภัยร้าย เข้ามาเยือน
หลงดี ทำให้อยาก
มากไว้ ยิ่งพอใจ
ยิ่งนาน ยิ่งยึดติด
เห็นจิต ผูกติดดี
ขาดสติ รู้ดี
เตือนตน ให้ดูจิต
เห็นภัย จิตติดดี
ทำใจ ให้จิตคลาย
ธรรมชาติ อย่าหลง
วางใจ ให้พอดี
ดีคือดี อย่าหลง
วางชอบ วางพอใจ
เตือนจิต ให้สงบ
รู้จิต เสวยอารมณ์
ตามรู้ ตามทันจิต
สร้างสงบ ธรรมดา
จิตสงบ ทันเหตุ
อารมณ์เฉย ในสุข
อุเบกขา เบาเบา
รักษา อุเบกขา
จิตเห็นจิต ตามรู้
ควบคุมจิต ได้จิต
นานไป วางสุขได้
เหตุทุกข์ จิตหมองไหม้
เศร้าใจ ที่ได้ทุกข์
ดิ้นรน ให้ทุกข์หาย
ซ้ำร้าย ยิ่งผิดหวัง
หวังดี แต่ผิดหวัง
ภัยร้าย ในความหวัง
ตั้งสติ ให้มั่น
เตรียมใจ รับภัยร้าย
จิตหมอง ด้วยเหตุร้าย
เห็นจิต เสวยอารมณ์
ตามจิต กลับมานิ่ง
รู้ทัน ในเหตุร้าย
ธรรมชาติ เป็นไป
ยอมรับ ในความจริง
ทำใจ ให้เฉยนิ่ง
วางยึดติด ความหวัง
คลายกังวล หม่นหมอง
ปล่อยธรรมดา เป็นไป
รู้ทัน ที่จิตเดิน
รู้อาการ ของจิต
จิตคุมจิต ได้จิต
ตามรู้ ควบคุมจิต
จิตใส เมื่อวางเป็น
ประเมินผล ตัวเอง

๑๒ - กายจิต

คิดอยู่ ว่าต้องตาย
ตายเมื่อใด ไม่รู้
ตายอย่างไร ไม่รู้
ป่วยตาย หรือแก่ตาย
ตายก่อนวัย ไม่แน่
ที่รู้ คือตายแน่
เตือนตน อย่าลืมตาย
ไม่มีใคร ไม่ตาย
บางคน ตายสบาย
ตายไป แบบง่ายง่าย
บางคน อาจโชคร้าย
ก่อนตาย ทุกข์เจ็บหนัก
ทรมาน พิการ
กายเจ็บ จิตก็ป่วย
ตั้งจิตว่า กายเจ็บ
เป็นเรื่อง ธรรมดา
ร่างกาย เป็นอย่างนั้น
เสื่อม ป่วย เปลี่ยนแปลงไป
ทุกคน ร่างกายเสื่อม
จากแข็งแรง เป็นอ่อน
เกิดสุขทุกข์ ซ้ำซาก
น่าเบื่อ สุดรำคาญ
จิตหา ความจริงได้
ร่างกาย มันไม่เที่ยง
เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอด
ชอบไม่ชอบ เป็นจริง
กาย ไม่ใช่ของจิต
อย่าหลง จิตมีกาย
เอากาย ไว้เป็นครู
แยกแยะ ให้เห็นกายจิต
การเสื่อม เรื่องของกาย
การเจ็บ เรื่องของกาย
การตาย เรื่องของกาย
จิต ไม่ป่วยตายด้วย
จิตทุกข์ เพราะยึดกาย
ปล่อยกาย ให้เป็นไป
เป็นอย่างไร ก็ช่าง
เรื่องกาย จิตไม่เกี่ยว
ทำจิต ให้พ้นกาย
อย่ายึดกาย เป็นเรา
เตือนจิต อย่าห่วงกาย
วันหนึ่ง ต้องจากกาย
ทิ้งกาย ไว้กับโลก
ต่างคน ก็ต่างไป
กายไป จิตก็ไป
จิตดี ก็ไปดี
จิตเสีย ลำบากแน่
ติดกาย กลับมาเกิด
เริ่มต้น นับกันใหม่
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซ้ำ
โชคดี ได้กายดี
โชคร้าย ได้กายพิการ
หมุนเวียน ไม่รู้จบ
สุขทุกข์ หมุนกังวล
ความคิด ปัญญาเห็น
กายใจ หมุนเวียนเกิด
สร้างภพชาติ ปัญหา
ผูกเวร ผูกกรรมชั่ว
กรรมดี ยังพารอด
อาศัยกาย เป็นครู
เรียนรู้ สู่สุขคติ
หยุดเกิด ให้ทิ้งกาย
วางกาย ไว้กับโลก
เราไม่เกิด ต้องลา

๑๓ - จิตดูกาย

ตั้งสติ ดูกาย
เห็นจิต สั่งกายทำ
เคลื่อนไหว ตามจิตสั่ง
หวังผล กระทำการ
ถูกใจ ผิดใจบ้าง
ผลดีเสีย คลุกเคล้า
ขัดใจ เมื่อกายดื้อ
ไม่ทำ ตามคำสั่ง
สุขใจ ยามกายดี
ทำตามคำสั่ง ได้
ดูจิต ที่ติดกาย
แยกแยะ เห็นกายจิต
จิตกาย คนละส่วน
อาศัย ต่อกันอยู่
ของจริง ที่กายเกิด
เติบโต ตามวัยกาย
ธรรมชาติ มีเสื่อม
เปลี่ยนแปลง ทุกเวลา
มีเจ็บป่วย ขัดข้อง
ที่สุด กายสลาย
จิตเห็น อาการกาย
ตามรู้ ถึงการเปลี่ยน
เห็นเสื่อม ทุกเวลา
มีเสื่อมน้อย เสื่อมมาก
อยู่ได้ กับไม่ได้
เสื่อมน้อย ยังพอทน
เสื่อมมาก ทนไม่ได้
กายเสื่อม เรื่องของกาย
กายสุข เรื่องของกาย
กายพิการ เรื่องกาย
กาย ทำหน้าที่กาย
เห็น ได้ยิน รู้รส
คิด ความจำ ปรุงแต่ง
รับสัมผัส สภาพ
เป็นหน้าที่ ของกาย
เป็นกาย มีชีวิต
เปรียบกาย เหมือนเครื่องจักร
มีชิ้นส่วน อะไหล่
ไฟ น้ำ ลม ผสมอยู่
ทำงานง่วน ร่วมกัน
บางครั้ง ไฟขาดหาย
น้ำขาด เป็นบางตอน
อะไหล่ มีขัดข้อง
ลม ไม่ประสานดี
เกิดอาการ ปรวนแปร
จิตสั่งกาย ลำบาก
กาย ไม่เป็นปกติ
บังคับกาย ไม่ได้
กายเป็นไป ตามนั้น
เห็นเครื่องจักร วุ่นวาย
ที่สุด กายชำรุด
เครื่องจักร หยุดทำงาน
จิตสับสน กับกาย
กายบังคับ ไม่อยู่
เสียใจ เพราะกายพัง
หมดหวัง กับกายนี้
เฝ้าหลง บำรุงกาย
หวังกาย รับสัมผัส
ลืมมอง สัจธรรม
มัวหลง ติดกับกาย
สร้างอารมณ์ สุขทุกข์
ชอบ และไม่ชอบใจ
มองดีดี เห็นจริง
แท้จริง กายจิตแยก

๑๔ - เวทนา

เวทนา จากกาย
สุขทุกข์ เวทนา
สุขมองยาก กว่าทุกข์
สุข เราไม่กังวล
ทุกข์ เราดิ้นรนหนัก
แยกสุขทุกข์ ให้เห็น
อาการ ของร่างกาย
ป่วย เกิดเวทนา
เสื่อม เกิดเวทนา
เจ็บปวด ทรมาน
เสียดแทง สุดทนทาน
ทางการ เป็นอย่างนี้
จิตบังคับ ไม่ได้
เวทนา ต้องเป็นไป
กายเจ็บ จิตรับรู้
รู้ซึ้ง ถึงความเจ็บ
จิตเสวย อารมณ์
ซาบซึ้ง ในรสเจ็บ
จิตดิ้นรน ต่อต้าน
หาทาง ดับเวทนา
ดับได้ สบายใจ
ดับไม่ได้ ทุกข์หนัก
กายจิต ร่วมกันอยู่
รู้ทุกข์ ป่วยของกาย
จิตรู้ ว่าไม่เที่ยง
เวทนา เกิดดับได้
แยกกายจิต ให้ดี
เห็นเจ็บ เป็นของกาย
หาเป็น ของจิตไม่
จิต แค่รับรู้เจ็บ
หากแยกจิต ไม่ออก
ป่วยเจ็บนั้น เป็นเรา
ทรมาน ก็เรา
หมองไหม้ ด้วยตัวเรา
ทุกข์ซ้ำ เมื่อป่วยหนัก
สิ้นคิด เพราะติดกาย
อาการสุข รับรู้
เห็นจิต ผูกติดยึด
สุขนั้น สร้างพอใจ
เวทนา พาหลง
สุขกายใจ ลืมตน
มองไม่เห็น ติดสุข
สุข เป็นธรรมชาติ
เป็นไป ตามอาการ
จิตรับรู้ อารมณ์
ยึดเป็นเรา ของเรา
ดูแล ปกป้องมัน
ซ้ำร้าย แยกไม่ออก
จิตรู้ เห็นจิตติด
รับสุข จนลืมตัว
จิตเตือนจิต ให้รู้
อย่าหลง ไปตามสุข
สุขเกิด เพราะเหตุสุข
เป็นภาวะ ของเหตุ
จิตรับรู้ อย่าติด
บังคับจิต ให้นิ่ง
สร้างอารมณ์ เฉยไว้
ทำใจ ให้ดีดี
รู้ตัวหลง รีบกลับ
ดับให้ทัน เหตุเกิด
ปล่อยทิ้ง ความติดยึด
ช่างมัน เรื่องของมัน
ทำใจ ให้ใสใส
สงบนิ่ง อยู่ภายใน

๑๕ - ธรรม

ทุกสิ่ง ล้วนเป็นธรรม
เหตุทั้งหลาย เป็นธรรม
กาย กรรม โลกธรรม
เป็นธรรม ร่วมกับเหตุ
หนังสือ ไม่ใช่ธรรม
ธรรมอยู่ที่ เหตุเกิด
หนังสือ ให้ความรู้
ประสบการณ์ ให้ปัญญา
ปัญญา ให้เกิดสติ
สติตั้ง เห็นธรรม
เหตุมีดี มีเสีย
เกิด เสื่อม เปลี่ยนแปลงไป
ทุกเหตุ ต้องวางกลาง
วางเฉย ไม่ไปไหน
ไปดี เกิดยึดติด
ไปผิด เป็นติดหลง
วางใจ อุเบกขา
ตรงกลาง คือจุดปล่อย
เกิดดีเสีย ช่างมัน
ใส่ใจ จิตเคลื่อนไหว
จิตเสวย อารมณ์
ชอบไม่ชอบ เป็นหลง
รู้ชอบไม่ชอบ พอ
อย่าไหล เกินเขตชอบ
ไม่ชอบ ก็อย่าไหล
รักษาใจ ให้นิ่ง
รู้ธรรมชาติ ของเหตุ
เห็นเหตุ ที่เป็นไป
ใจนิ่ง อยู่ตรงกลาง
ควบคุมใจ อย่าไหล
ยกธรรม ไว้เป็นครู
เรียนรู้ เพื่อปล่อยวาง
ธรรม ไม่ใช่ของเรา
วันหนึ่ง ต้องทิ้งธรรม
ธรรมใดรู้ ต้องวาง
ธรรมอื่น วางตามด้วย
วางธรรม ใจตรงกลาง
ไม่หวัง ดีหรือเสีย
ปล่อยดีเสีย ออกไป
อะไรเกิด ช่างมัน
ประสบการณ์ สอนดี
ผิดถูก ล้วนเป็นครู
หนังสือ ให้แค่รู้
ประสบการณ์ ให้ของจริง
หมั่นซ้อม และใส่ใจ
ประเมินผล ควบไป
ปรับปรุง แก้ไขไว้
มุ่งมั่น เกิดชำนาญ
ผิดถูก ควบคู่กัน
รู้มั่น สร้างกำลัง
มีใจให้ กับธรรม
ธรรมนั้น ย่อมให้ผล
ไม่มีใจ กับธรรม
ธรรมนั้น ย่อมไร้ค่า
ตั้งใจ และมั่นใจ
รักษา ตรงกลางไว้
ตรงกลาง มีสงบ
ว่าง ไม่มีอะไร
เหมือนหนึ่ง ต้องทิ้งธรรม
ธรรมว่าง จิตว่างตาม
นิ่ง สงบ สบาย
ถึงกำหนด เป้าหมาย
เอาดี ทำแบบนี้
โชคดี ที่พบธรรม

๑๖ - งานจิต

กิจวัตร ประจำ
มีและ ไม่มีเหตุ
ยามมีเหตุ ทำหนัก
ยามปลอด ทำสบาย
แยกแยะ หน้าที่ไว้
ทำใจ ให้ถูกกาล
ตั้งสติ ดูไว้
เช่นจิต ปลอดปัญหา
ทำตัว ให้สบาย
ทำใจ ให้ว่างว่าง
คุมใจ ให้สงบ
หยุดโกรธ โลภ กังวล
เฉยเฉย เป็นสุขไว้
ระวังใจ อย่าเผลอ
ยามกระทบ เหตุร้าย
รีบตั้งหลัก แล้วเคลียร์
อย่าปล่อยขัง ในใจ
รีบปล่อย ให้เป็นสุข
ใจตั้งมั่น อย่ากลัว
ปัญหา ก็คือปัญหา
แก้ไขได้ แก้ไป
แก้ไม่ได้ ช่างมัน
ใจไม่ผูก ปัญหา
ปัญหา อยู่นอกใจ
ช่างมัน อย่าใส่ใจ
รักษา ความเฉยไว้
สุขทุกข์ ก็ต้องเฉย
ดีใจ เกิดพอใจ
เสียใจ เกิดทุกข์ใจ
ตั้งหลักดี เห็นธรรม
มรรคผล เรากำหนด
มุ่งมรรคผล ต้องเดิน
อย่าท้อ อย่าอาวรณ์
ตามให้ทัน คนหน้า
อย่ารั้งท้าย ห่างไกล
ไม่เห็นทาง พาหลง
เห็นคนนำ รีบตาม
มรรคผล อยู่ข้างหน้า
การเดิน เดินแบบเรา
ไม่เหมือน กับคนอื่น
เหมือนกัน ในเส้นทาง
แตกต่าง วิธีเดิน
อย่าหลง ก๊อปปี้ใคร
ตัวเรา คือแบบเรา
การลืม กับวางเฉย
แตกต่าง ต้องระวัง
ทำลืม ไม่คิดถึง
ลืมอาการ ของเหตุ
เหมือนใจ ปล่อยวางได้
เป็นเบี่ยงเบน ความคิด
หาใช่ การละวาง
ยิ่งนานวัน ยิ่งลืม
ยามคิดถึง เป็นเรื่อง
มีอาการ ทันที
ทุกข์ใจ เมื่อคิดถึง
มีกังวล หม่นหมอง
รู้ตัว ต้องปล่อยวาง
การมา เหมือนเป็นครู
รู้ว่า ยังไม่วาง
รีบวาง ให้เป็นสุข
เจอปัญหา วางได้
ปล่อยวาง ให้เป็นไป
ใจว่างว่าง เป็นดี
ทำบ่อยบ่อย เจริญ

๑๗ - กายบุญ

ดูขันธ์ห้า ร่างกาย
ตรวจดู ประเมินผล
ดูสภาพ ร่างกาย
สบาย หรือลำบาก
ร่างกาย ยังทรงดี
ทำงาน ตามสภาพ
ใช้งาน ดำเนินไป
ให้เกิดดี ประโยชน์
กายดี ทำให้มาก
โอกาสดี ต้องทำ
อย่าผัดวัน พรุ่งนี้
กายดี มีโอกาส
กายดี เวลาน้อย
ไม่ยืนยาว เกินร้อย
ตอนเด็ก ไร้เดียงสา
ยามโต หลงสนุก
ยามชรา มีทุกข์
ใกล้ตาย ยิ่งหม่นหมอง
วงจร ชีวิตสั้น
หาช่วง ทำความดี
ให้มาก ไว้เป็นทุน
สิ้นบุญแล้ว ไปดี
กายเสีย สิ้นสภาพ
หมดโอกาส สร้างดี
สภาพกาย ขาดดุล
ขาดกำลัง ทรงตัว
หยุดนิ่ง ไม่ทำงาน
หมดโอกาส เสียหาย
จิตดู รู้สภาพ
สภาพของ ร่างกาย
หาใช่ สภาพจิต
กายดี เรื่องของกาย
กายเสีย ก็เรื่องกาย
ช่างมัน เรื่องของกาย
จิตเรา อาศัยกาย
กายดี เป็นโชคเรา
กายเสีย เราโชคร้าย
อาศัยกาย ทำดี
ไม่ติด สภาพกาย
วันหนึ่ง ต้องจากกาย
กายไม่ใช่ ของเรา
สภาพกาย ช่างมัน
ดีเสีย เรารับได้
ดีก็ทำ รุดหน้า
เสียมา ก็ปล่อยวาง
หมดเวลา เราไป
ไม่ห่วง สภาพกาย
ปล่อยกาย ให้เป็นไป
เวลาอยู่ ตรวจดู
ทุกสภาพ ของกาย
แยกกาย ให้พ้นจิต
คนละส่วน แยกกัน
ไม่รวม เป็นหนึ่งเดียว
ถอดจิต ออกพ้นกาย
เห็นกาย ทำหน้าที่
เป็นไป ตามสภาพ
ดูนานนาน จิตรู้
สภาพกาย เปลี่ยนแปลง
ไม่คงที่ แน่นอน
สภาพ เป็นเช่นนี้
จิตรู้ ดูกายเป็น
รู้เห็น ธรรมชาติ
ธรรมดา ร่างกาย
สุดท้าย เราไม่มี

๑๘ - สภาวะสาม

โลกนี้ มีสามสิ่ง
กาย กรรม โลกธรรม
ชีวิต อยู่กับสาม
จิตเดินตาม สามสิ่ง
เตือนจิต อย่าติดกาย
กาย เป็นของบนโลก
เรา มาอาศัยกาย
การเจ็บ เสื่อม เรื่องกาย
แยกกาย ออกพ้นจิต
ชีวิตกาย ของกาย
ยึดกาย เราเจ็บปวด
คิดกายจิต เป็นเรา
กายป่วย เราป่วยด้วย
เช่นนี้ เราติดกาย
กีฬา ต้องหมั่นซ้อม
เอาดี ต้องซ้อมใจ
สุขทุกข์ ซ้อมมันไว้
วางได้ ไม่ได้ รอ
มีใจให้ เชื่อมั่น
ความดี คงไม่ไกล
กฎแห่งกรรม เหมือนกัน
บังคับ ให้เป็นไป
ทั้งกรรมดี กรรมเสีย
เหมือนเรา ต้องชดใช้
พอใจ และเสียใจ
อยู่ใต้ อำนาจกรรม
แล้วแต่กรรม พาไป
สุขทุกข์ ไปตามกรรม
เอากรรม มาเป็นครู
ยกตน ให้เหนือกรรม
ยอมรับ ทำใจกรรม
กรรมดีเสีย ช่างมัน
ตั้งใจมั่น เพื่อกิจ
หนีกรรม ใช่เหตุผล
เตือนทุกคน มีกรรม
วางกรรม ต้องทำใจ
โลกธรรม นำชี้
เป็นสังคม ทางโลก
กำหนด ให้คนเดิน
มีดีเสีย คลุกเคล้า
มีแล้วหมด หดหาย
หายไป กลับคืนมา
หลอกให้หลง ดีใจ
เสียใจ โดนหลอกซ้ำ
หมุนเวียน ไม่รู้จบ
ยกย่อง แล้วนินทา
สุขกาย สบายตัว
มัวหมอง เมื่อสุขหมด
โลกธรรม สมบัติโลก
เป็นสังคม กำหนด
ไม่เป็นของ ของเรา
เราอาศัย โลกธรรม
ยกตน ให้พ้นโลก
ปล่อยโลก ให้เป็นไป
ชีวิตอยู่ มีค่า
เรียนรู้จริง สามสิ่ง
ดูดีดี เห็นทาง
ธรรมชาติ เป็นไป
เรายึดติด คิดหลง
วังวน อยู่สุขทุกข์
เกิดดับ สลับไป
ภัยร้าย ในสามสิ่ง
วางทิ้ง ทุกสิ่งสาม
นิพพาน อยู่ไม่ไกล

๑๙ - ซ้อมใจ

ตีเหล็ก ตอนเหล็กร้อน
ได้รูปแบบ ต้องการ
ตีเหล็ก เมื่อเหล็กเย็น
ได้เสียงดัง หนวกหู
ทำใจ ตอนเกิดเหตุ
ได้ปัญญา เห็นจริง
ทำใจ ตอนสบาย
ได้รู้ แต่ไร้ผล
ระวัง จะหลงผิด
คิดได้ ตอนสบาย
ขาดกำลัง ทำใจ
วางยาก เมื่อภัยมา
นักสู้ ต้องหมั่นซ้อม
กีฬา ต้องซ้อมดี
ซ้อมมาก ชำนาญมาก
วันแข่ง คือวันซ้อม
เจอทุกข์ หมั่นทำใจ
เจอสุข ทำใจด้วย
หมั่นซ้อมใจ ทำใจ
ทุกปัญหา สุขทุกข์
ให้จิต เกิดชำนาญ
ศึกใหญ่เล็ก ไม่กลัว
มีใจ ให้กับงาน
งานนั้น เป็นงานดี
ไม่มีใจ กับงาน
งานนั้น ย่อมล้มเหลว
งานจิต คือทำใจ
ละวาง สิ่งสำคัญ
ละได้ ย่อมเป็นคุณ
วางได้ ย่อมเป็นสุข
ธรรมชาติ สร้างรู้
ทุกสิ่ง ล้วนเป็นครู
กาย โลก กรรม เป็นครู
ประสบการณ์ เรียนรู้
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ชี้
เห็นจริง ทำใจได้
สำคัญ ต้องหมั่นซ้อม
หนีซ้อม เหมือนสิ้นคิด
เจอปัญหา ใจตก
หมดหนทาง เสียใจ
เจอปัญหา ต้องสู้
เป็นแบบฝึกหัด ซ้อม
ทำผิด ไม่เป็นไร
ตรงข้ามผิด คือถูก
เรียนรู้ แก้ไขไป
ทำใจ ไปเรื่อยเรื่อย
จากยาก กลายเป็นง่าย
วันหนึ่ง ทำใจได้
กาย ไม่อยู่คงที่
หมุนเวียน เปลี่ยนไปมา
เข้าถึงกาย รู้กาย
เห็นเกิดดับ หมุนเวียน
ป่วย เสื่อม ลำบากแท้
สภาพ เป็นอย่างนั้น
ตอนป่วย ทำใจไว้
ของจริง ที่ต้องป่วย
เจ็บ ลำบาก ต้องทำใจ
ยอมรับ แล้วใจสุข
ยามป่วย ก็สุขได้
ยามเจ็บ สบายใจ
เห็นจิต ไม่ติดกาย
ปล่อยกาย ทิ้งจากจิต
อรหันต์ ทำแบบนี้
เอาดี ต้องทำตาม

๒๐ - พรหมวิหาร

เมตตา หมายว่าชอบ
ต้องชอบ ให้พอดี
เกินพอดี เป็นรัก
รักเกิด ผูกพันเกิด
ขาดชอบ มักเจือโกรธ
เพ่งโทษ มีโกรธร้าย
ซ่อนอยู่ ไม่รู้ตัว
โกรธ ทำให้กล่าวโทษ
มองความผิด ของเขา
นินทา ว่าร้ายเขา
ขาดสติ รู้ชอบ
นานไป ชอบไม่เกิด
มองคน ในแง่ดี
ชอบเกิด อภัยเกิด
มีอภัย ใจดี
จิตยาก เป็นจิตง่าย
กรุณา คือให้
รู้จักให้ พอดี
ช่วยเหลือ สิ่งควรช่วย
ช่วยเหลือ ห้ามรับใช้
ให้ใคร ต้องอิงชอบ
อย่าให้ ไร้จุดหมาย
โกรธใคร ให้อภัย
ยกให้ เพราะมองดี
ยิ้มจากเรา เขาสุข
หวานเรา เขาสดชื่น
เราเหมือน แสงสว่าง
เบิกบาน เมื่อเจอเรา
พอใจ เหมือนได้มิตร
อย่าให้ เพราะหวังผล
ช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์
สิ่งร้าย หายเพราะให้
มุทิตา เรื่องจิต
หมายจิต ที่สดใส
ยินดี ไม่เจือร้าย
สุขใจ ด้วยยินดี
ให้ดี ไม่หวังผล
ส่งบุญ ให้เขาดี
เราดี ให้เขาดี
เขาดี เรายินดี
หวังผล ในสิ่งดี
ยินดี จะเศร้าหมอง
เหมือนอยาก เอาดีเขา
จิตหมอง ด้วยอยากได้
ระวัง จิตบังจิต
ทำผิด เข้าใจผิด
คนชอบ เรายินดี
ไม่ชอบ เรามองร้าย
อุเบกขา เป็นธรรม
ล้ำลึก ด้วยวางเฉย
ดีเสีย ไม่หนักใจ
รู้แจ้ง เป็นธรรมดา
อารมณ์นิ่ง ดับทุกข์
สุขก็ดับ เช่นกัน
เข้าใจ และเข้าใจ
วางใจได้ ด้วยใจ
เย็น ยิ้ม นิ่ง ใส สุข
จิตวาง ทุกสภาพ
ว่าง สว่าง สงบ
ดีไกล ไร้ขอบเขต
กว้างใหญ่ ไร้พรมแดน
เบิกบาน แจ่มจรัส
สุขทุกข์ เหมือนสิ้นดับ
ผลลัพธ์ อุเบกขา

๒๑ - เมตตา

มีดี ให้เขารัก
มีเลว ให้เขาชัง
ดูการทำ ของเรา
เราเก่ง สร้างปัญหา
หรือช่วย เคลียร์ปัญหา
สร้างดี ไว้กับตัว
เอาชั่ว เคลียร์ทิ้งไป
เราชั่ว ไม่ยอมรับ
ชั่วเรา เขาไม่เกี่ยว
ผลกระทบ ยิ่งชั่ว
คิดเลว เข้าข้างตัว
นานไป สันดานเสีย
ทางธรรม เหมือนทางตัน
ดวงจิต ไร้คุณค่า
อย่าให้ร้าย กับใคร
เมตตา หาไม่เจอ
ทำดี ย่อมได้ดี
มีดี ให้เขารัก
ทำเลว ย่อมได้เลว
เป็นเลว ให้เขาชัง
เรามีดี ให้ดี
คนเห็น มักชื่นชม
เรามีเลว เป็นเลว
คนเห็น มักเหม็นหน้า
เห็นเรา เขาเป็นเครียด
หมดสุข เมื่อพบเรา
เป็นเช่นนี้ รู้ตัว
รู้ว่า เรามันเลว
ทำดี มีคุณตัว
สร้างตัว เป็นมงคล
ตัวเรา ผู้มีคุณ
ใครใคร อยากชิดใกล้
ได้ประโยชน์ จากเรา
สุขกาย สุขใจดี
อารมณ์จิต เบิกบาน
เมตตา เจริญธรรม
ดูองค์ ประทีปแก้ว
ผู้มากล้น เมตตา
ทุกหมู่เหล่า มอบใจ
ถวายแด่ ประทีปแก้ว
ความดี ไม่บกพร่อง
สดชื่น อารมณ์สุข
ร้อนมา กลับดับเย็น
เอาดี ต้องทำตาม
เมตตา ให้นำหน้า
ให้ดี นำทางไว้
ใครใคร เราให้ดี
อย่างน้อย ยิ้มก็ดี
ให้เขาดี ด้วยใจ
ตั้งใจ หวังดีไว้
อย่าให้ เพื่อหวังผล
เมตตา มีเจือพิษ
ให้ดี ไม่หวังผล
ใจมั่นคง ที่ดี
ถ้าหวังผล ใจทรุด
ดี ไม่บริสุทธิ์
มองคน ในแง่ดี
เริ่มดี เมตตาเกิด
มองคน ในแง่ร้าย
ทุกข์ร้อนใจ หมองไหม้
เห็นภัย ขาดเมตตา
เอาดี เจริญเมตตา
เมตตา พาสุขสม
ทุกคน ต้องเมตตา

๒๒ - กรุณา

ไม่เห็นแก่ ตัวเรา
ทำให้ เพื่อคนอื่น
ทำให้ ใจต้องรัก
มีใจ ถึงทำให้
ศรัทธา เป็นตัวนำ
เชื่อใจ ด้วยอ่อนน้อม
ยอมตาม ด้วยศรัทธา
เชื่อใจ เกิดศรัทธา
บูชา ยอมทำให้
เหนื่อยกาย และเหนื่อยใจ
ไม่บ่น ไม่ปริปาก
เต็มใจ พร้อมเหน็ดเหนื่อย
งานเราช้า ช่างมัน
งานเขา ต้องเรียบร้อย
สมบูรณ์ และดีเด่น
ชื่นใจ ทำเพื่อเขา
สงสาร ยอมเหนื่อยให้
ลำบากเรา สุขเขา
ยินดี ถ้าเขาสุข
เหนื่อยเรา ไม่เป็นไร
เขาด้อยกว่า เราเสริม
เขาจนกว่า เราช่วย
เขาโง่กว่า เราสอน
สงเคราะห์ ให้เขาดี
เมตตา ให้ตั้งมั่น
ไม่หวังผล ตอบแทน
เขาดี เราเป็นสุข
เขารอด เราชื่นใจ
ศรัทธา และสงสาร
เป็นคู่ กรุณา
อย่ายกตน ข่มท่าน
อย่ายกตน อวดเด่น
อย่าช่วย เพราะหวังผล
กรุณา ไร้ค่า
ขาดสงสาร หมดแรง
กำลังใจ หมดสิ้น
ตัวช่วย ทำไม่ออก
ไม่เต็มใจ กับงาน
หมดแรง หมดสงสาร
สิ้นแล้ว กรุณา
ขาดศรัทธา สิ้นใจ
หมดแรง กำลังใจ
หมดแล้ว ความเต็มใจ
หมดสิ้น ความเชื่อถือ
ไม่ทำ เพื่อคนอื่น
ทำเพื่อเรา ดีกว่า
หัวใจ กรุณา
มีศรัทธา สงสาร
จริงใจ เกิดศรัทธา
มีใจ เกิดสงสาร
ฝึกฝน ด้วยปัญญา
รู้เห็น หนทางธรรม
ทางดี เราต้องเดิน
กรุณา ช่วยดี
ใจสุข เหมือนได้ละ
ไม่ติด ว่าตัวกู
ของกู ก็ไม่ใช่
ได้ดี กำลังใจ
จิต พัฒนาดี
มุ่งดี ทำเพื่อละ
ไม่ติด ว่าของเรา
ตัวเรา ก็ไม่มี
จิตเดียว มีกำลัง
ฟันฝ่า หลุดหมุนเวียน

๒๓ - โมทนา

โมทนา มีสอง
หนึ่งจิต มียินดี
สองจิต อยากได้บุญ
จิตยินดี ดีใจ
เห็นคุณค่า ของดี
ประทับไว้ บนโลก
ชื่นใจ กับความดี
เห็นดี เราสุขใจ
ไม่เลือก บุคคลใด
ใครใคร เรายินดี
ขอบคุณ เป็นตัวอย่าง
คราวหน้า เราต้องทำ
ประทับดี เหมือนกัน
สร้างดี เป็นประโยชน์
ส่วนตัว หรือส่วนรวม
ทำด้วยใจ ยินดี
ใครทำดี ชื่นใจ
ผลสังคม เป็นสุข
ผลต่อเรา ยินดี
ดวงจิต ไร้อิจฉา
ส่งบุญ ให้เขาสุข
โอบอุ้ม ให้เจริญ
ระวังจิต สับสน
คนรัก เรายินดี
ชื่นใจ เมื่อทำดี
คนชัง เราหมั่นไส้
ทำดี เห็นไม่ขึ้น
โมทนา ชำรุด
เหมือนจิต อยากได้บุญ
ปากพูด แต่ไม่ทำ
บุญไม่เกิด ที่เรา
บุญเขาทำ เขาได้
หลงเฝ้า โมทนา
หวังต่อบุญ จากเขา
อยากได้ ในบุญเขา
บุญใหญ่ ยิ่งอยากได้
บุญน้อย ไม่พอใจ
ไม่อยาก โมทนา
จิตมาก ด้วยกิเลส
แอบใน โมทนา
เฝ้าหลง โมทนา
คนชอบ เรายินดี
คนเกลียด เราอิจฉา
ติเตียน ว่าทำเกิน
กิเลส โมทนา
ส่งผล ให้โง่เขลา
สร้างกิเลส ให้โต
ยิ่งนาน ปัญญาทราม
ขาดตัวรู้ นำทาง
มรรคผล ไปไม่เป็น
หลงเชื่อ อยากได้บุญ
โมทนา ทุกสิ่ง
โมทนา ความดี
ผลดี เกิดเป็นบุญ
ส่งผล จิตอ่อนโยน
เยือกเย็น จิตสุขุม
คุณค่า โมทนา
เลือกใช้ ให้ถูกทาง
อย่าหลง เพราะอยากได้
สิ่งได้ เราต้องทำ
คนอื่นทำ เราชอบ
ยินดี ที่เขาทำ
ชื่นใจ บุญความดี
สำเร็จ โมทนา

๒๔ - เฉย

พอแล้ว สร้างตัวเฉย
รู้ตาย ใจก็เฉย
เพ่งเสีย ใจเฉยเฉย
ไม่ดิ้นรน ใฝ่หา
พอแล้ว พอกันที
ไม่อยากมี อยากเป็น
ใจนิ่ง สงบเฉย
เป็นตาย ไม่สนใจ
เบื้องหน้า มีแต่เฉย
ยกให้ เอาไปเลย
หมดเสียดาย อาวรณ์
ปล่อยทุกอย่าง เป็นไป
รู้ว่า เราต้องตาย
ความตาย อยู่เบื้องหน้า
ไม่อยากได้ อะไร
เดี๋ยวเรา ก็ตายแล้ว
ได้ไว้ มีแต่ทุกข์
ต้องดูแล ปกป้อง
คิดแล้ว เป็นเหนื่อยใจ
เป็นทุกข์ เพราะอยากได้
วันเวลา สร้างทุกข์
ไร้สุข เพราะหวงแหน
ไม่เอา เกิดความสุข
ไม่มี ใจยิ่งสุข
ไตรลักษณ์ นำเกิดเฉย
เบื้องหน้า มีแต่เสีย
อารมณ์อยาก ไม่มี
ใจเฉย ไม่ดิ้นรน
ทุกสิ่ง ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของ ของเรา
ผ่านมาแล้ว ผ่านไป
มีก็หมด สิ้นไป
ปล่อยใจ ไม่กังวล
ปล่อยคืน ธรรมชาติ
เป็นไป ตามวิถี
ไม่ฝืนกฎ ความจริง
ธรรมชาติ ของแท้
เปลี่ยนแปลง เป็นเกิดทุกข์
รู้กฎ ธรรมชาติ
เข้าใจ ธรรมชาติ
เห็นจริง ธรรมดา
เป็นไป ตามสภาพ
เกิดดับ สลับไป
เบื้องหน้า ธรรมชาติ
ภายใน ธรรมดา
ธรรมชาติ อยู่นอก
เหตุทั้งหลาย เป็นธรรม
มีวิถี การเดิน
เป็นธรรมชาติ ธรรม
ใจรับรู้ ธรรมชาติ
ยอมรับ ในความจริง
ใจเกิด ธรรมดา
วางเฉย ในเหตุธรรม
แจ่มแจ้ง ธรรมดา
วางใจ ได้สงบ
นิ่ง ว่าง ไม่ดิ้นรน
อุเบกขา ใจสุข
เฉยเฉย เอิบอิ่มใจ
ไม่มี สิ่งติดใจ
วางได้ ทุกสิ่งพอ
หยุดแล้ว ไม่ขวนขวาย
อารมณ์ปล่อย ยกให้
อุเบกขา เจริญ
เจริญยิ่ง มรรคผล

๒๕ - ง่าย

ทำตัว ให้เขาชัง
หมดรัก หมดสงสาร
เกิดเหตุ สมน้ำหน้า
ขาดแล้ว ความช่วยเหลือ
เห็นใจ หาไม่เจอ
เจอเสียงด่า ซ้ำเติม
ตัวเรา ผู้อับโชค
ไร้ซึ่ง ปัญญาดี
ขาดอบรม สั่งสอน
เส้นทาง เดินลำบาก
ทางมรรค มีปัญหา
ผลได้ อันแสนยาก
รู้ตัว ให้รีบปรับ
ทำดี ให้เขารัก
เขาก่อน เราทีหลัง
ให้ ดีกว่าตั้งรับ
ให้ด้วยใจ จริงใจ
เสแสร้ง เราไม่ทำ
พรหมวิหาร ใช้มาก
ใบหน้า เพิ่มรอยยิ้ม
อย่าให้ คำพูดแรง
ยกตน สูงกว่าเขา
ทำตน เด่นกว่าเขา
อวดดี ผลยิ่งแย่
รู้ใจเขา ใจเรา
เราหวัง สุขสบาย
คนอื่นคิด เหมือนเรา
ถ้อยที ถ้อยอาศัย
เขาเรา ร่วมเป็นสุข
อยู่ด้วย สันติสุข
เสริม คุณภาพจิต
สร้างจิต ให้ทางเกิด
จิตดี ทางมรรคเกิด
จิตดี ทางจึงดี
จิตเสีย ปิดทางมรรค
หมดสิ้น ธรรมมรรคผล
ทำดี ทำไม่ยาก
เริ่มต้น ที่รอยยิ้ม
ไม่กระทำ ล่วงเกิน
มองคน ในแง่ดี
สร้างมิตร ได้มงคล
สร้างศัตรู เป็นภัย
ตัวเรา อย่าทิฏฐิ
ถือตัว ว่าเราดี
คนอื่น ไม่เท่าเรา
วางตัว ให้พอดี
ให้ด้วย มีเมตตา
กรุณา สงเคราะห์ดี
มุทิตา ให้พอใจ
อุเบกขา พอแล้ว
สิ่งดี ธรรมมรรคผล
เบื้องต้น แห่งการเดิน
ถูกทาง ปลายทางมี
เติมแต่ง ระหว่างทาง
ให้สดใส ทางเดิน
สร้างแรง ให้เข้มแข็ง
เดินหน้า ไม่ย่อท้อ
เหนื่อยนัก หยุดพักผ่อน
ตึงไป มักเสียงาน
หย่อนไป ไม่ได้งาน
รักษาจิต ให้พอดี
ปรับจิต ให้เป็นดี
จิตโลก เหมือนหมดไป
เป็นจิต อริยะ

๒๖ - ตัวกู ของกู

ตัวกู ต้องดีเด่น
ใครอย่าเด่น เกินกู
ตัวกู ถือไว้บ้า
ของกู ถือไว้หนัก
บ้าหนัก คือตัวกู
บ้าโง่ ชอบแบกหนัก
ทิฏฐิ ยึดติดแน่น
เหตุต้องได้ ดั่งใจ
หาความสุข ไม่มี
มีแต่ทุกข์ เศร้าหมอง
เฝ้ารอ ให้ถูกใจ
ใจสับสน วุ่นวาย
ร้อนใจ จิตหมองไหม้
เห็นทุกข์ ของไม่ยอม
รู้ตัว ต้องดัดใจ
หัดใจ ให้ยอมรับ
รับได้ กูไม่มี
ไม่ใช่ของ ของกู
ปล่อยไป เรื่องของมัน
อะไรเกิด เรื่องมัน
เป็นนิสัย ของคน
ทุกสิ่ง ต้องถูกใจ
คิดฝ่ายเดียว ถูกใจ
คนอื่น ไม่สนใจ
ต้องการ แต่สิ่งดี
คนอื่น คิดเหมือนเรา
อยากดี ไม่อยากเสีย
เจอเสีย มักดิ้นรน
ทำใจ ให้ง่ายง่าย
เจียมเนื้อ เจียมตัวไว้
ตัวกู คือชื่อนี้
กูมี ตำแหน่งนี้
นั่นแหละ คือตัวกู
จะเสียหาย ไม่ได้
ลบหลู่ ยอมไม่ได้
ทิฏฐิ คือตัวกู
หลงยึด ว่าเป็นกู
รักษา ปกป้องมัน
ตายไป พร้อมกับมัน
มันชวน กลับมาเกิด
อยู่กับมัน ตลอดกาล
นิพพาน ไปไม่เป็น
ปลดระวาง ตัวกู
ตัวกู ไม่ใช่กู
มีค่า เป็นสมมุติ
สวมหัวโขน เล่นกัน
ผูกใจ ติดใจมัน
ติดใจ ในคำชม
ทุกข์ใจ โดนตำหนิ
เป็นทาส ของสมมุติ
รู้ตัว ให้รีบวาง
ตั้งสติ ปล่อยวาง
ไล่สมมุติ พ้นจิต
เหลือตัวเรา ไม่มี
ให้เห็น ตัวสมมุติ
หน้าตา เป็นอย่างนี้
วางใจ ให้ถูกตัว
สมมุติ คือตัวร้าย
ปล่อยไป ให้จิตว่าง
อะไรเกิด ปล่อยไป
ได้ไม่ได้ ต้องหัด
นานวัน เกิดผลได้
ทิ้งได้ ซึ่งตัวกู
สิ้นกู ตัวกู จบ

๒๗ - อิจฉา

อวดดี และอิจฉา
อวดดี ต้องการชม
บ้าเห่อ หลงโอ้อวด
ชอบใจ ในคำชม
ชมถูกใจ สมหวัง
พอใจ คนชมเรา
คนติ เราเจ็บแค้น
เจ็บปวด ด้วยคำติ
ผิดหวัง พร้อมเสียใจ
มุ่งร้าย คนติเรา
ใครดีเกิน เป็นเครียด
ไม่ชอบ ดีเกินเรา
อิจฉา เขาได้ดี
ล้ำหน้า รับไม่ได้
เขาเจ๊ง เราสะใจ
ฉิบหาย เราชอบใจ
อิจฉา นี้ร้ายนัก
ซ่อนเก็บ ในตัวเรา
บั่นทอน ทางมรรคผล
รู้มี ให้รีบเคลียร์
พรหมวิหาร ต้องใช้
ระงับทุกข์ อิจฉา
กฎแห่งกรรม นำมา
แก้ใจ ที่อิจฉา
ปลดปล่อย ให้ใจว่าง
เห็นใจ เพราะกรรมเขา
กรรมดี ก็กรรมเขา
กรรมชั่ว เรื่องของเขา
เราอย่ายุ่ง เรื่องเขา
ปล่อยไป เรื่องของเขา
ตัวเรา อย่าอวดดี
โอ้อวด เหมือนเราโง่
บ้าจี้ ขี้บ้ายอ
หลงตัว หลงขี้อวด
มีดี ต้องอมภูมิ
ให้เจียมเนื้อ เจียมตัว
ภูมิใจ ตัวเองได้
อย่าโชว์ ให้คนเห็น
เราดี ดีของเรา
แอบดีใจ ตัวเอง
สุขใจ ไม่บอกใคร
ใครใคร เขาไม่รู้
ทำตัว อย่าเด่นเกิน
เป็นนิสัย ของคน
หวังดี ประสงค์ร้าย
ชอบดู ความฉิบหาย
ฝึกใจ ให้สงสาร
สัตว์โลก มีเวรกรรม
ย่อมเป็นไป ตามกรรม
ผิดหวัง มากกว่าดี
สมหวัง มีไม่บ่อย
สงสาร คนติดหวัง
เจ็บปวด กับความหวัง
ทุกสิ่ง ต้องสมหวัง
อย่าซ้ำ ตัวอิจฉา
เขามีทุกข์ มากแล้ว
อย่าอวด ให้เขาทุกข์
อย่าบ้า ให้เขาชม
อย่ายอ ให้เขาเหลิง
อย่าติ ให้เขาเจ็บ
ให้ยิ้ม ด้วยไมตรี
สงเคราะห์ ตามสภาพ
มิตรภาพ เจริญ
ขอบคุณ พรหมวิหาร

๒๘ - ติ ชม

พอใจ ในคำชม
ชื่นใจ เมื่อโดนชม
ชมจริง หรือชมหลอก
ก็พอใจ ที่ชม
โดนยกย่อง สุขใจ
คนยกย่อง เรารัก
ผิดถูก ไม่แยกแยะ
รักแล้ว พอใจแล้ว
หลงยึด ในคำชม
หลงใหล ถูกยกย่อง
เหมือนโดน อาวุธร้าย
เป็นอาวุธ โลกธรรม
บังคับ เป็นทาสโลก
ผูกติด ไว้กับโลก
ทำตน เพื่อคำชม
ตัวตน หาไม่เจอ
คำติ เสียดแทงใจ
เสียใจ ที่โดนติ
เกลียดนัก คนติเรา
เหม็นหน้า ไม่อยากคบ
รับไม่ได้ คำติ
ไม่ชอบ ชวนให้โกรธ
โทษร้าย เพราะคำติ
อาวุธโลก ร้ายจริง
ทำร้ายเรา สิ้นสุข
อาวุธ โลกธรรม
สุขใจ พร้อมเสียใจ
เศร้าใจ เพราะอาวุธ
รู้ตัว อย่าเข้าใกล้
ตั้งสติ ถอยไว้
คำชม อย่ารีบรับ
คำติ อย่ารีบโต้
โดนชม ทำเฉยเฉย
โดนติ ก็เฉยด้วย
ชมมา รีบปัดทิ้ง
อย่ารับ ไว้ใส่ใจ
ติมา ให้ผ่านไป
ติชม เราไม่รับ
ทำใจ อย่างภูผา
ลม แดด ฝน ไม่กลัว
ภูผา ไม่สะเทือน
ใจต้องฝึก ภูผา
ติชม ตั้งรับได้
โดนตัว อย่าใส่ใจ
ปล่อยติชม ผ่านไป
ช่างมัน เรื่องของโลก
อาวุธร้าย ไร้ผล
ทำร้ายเรา ไม่ได้
เราไม่เป็น ทาสโลก
อิสระ ตัวตน
ไม่มี ซึ่งตัวกู
กูไม่มี ตัวตน
ชมไม่ใช่ ของกู
ติไม่ใช่ ของกู
ละตัวตน ทิฏฐิ
ยศ ตำแหน่ง ไม่มี
เห็นที ต้องบอกลา
พอแล้ว ชีวิตโลก
บอบช้ำ แสนสาหัส
หลงรัก ความเจ็บปวด
อาวุธร้าย โลกธรรม
เราหัก จนหมดสิ้น
สิ้นแล้ว สิ้นสภาพ
อิสรภาพ ไชโย

๒๙ - อภัย

จะไปแล้ว ยกให้
ไม่ติดใจ ผูกพัน
ร้ายมา ก็ยกให้
รบกวน ไม่เป็นไร
เชิญเลย ตามสบาย
อยากเคืองเรา ก็เชิญ
เรา ไม่มีอะไร
มีมา ยกให้หมด
ดีกับเรา ขอบคุณ
ร้ายกับเรา ช่างเถอะ
ในใจ มีความตาย
สำคัญกว่า สิ่งใด
ไม่เก็บ สิ่งใดไว้
ปล่อยวาง ให้ว่างเฉย
โกรธ อยาก ไม่คิดได้
กังวล ก็ไม่เอา
ใจเฉยเฉย สงบ
อุเบกขา มั่นคง
ธรรมดา ตั้งมั่น
ปล่อยวาง ช่างหัวมัน
ไม่ติด คำขอโทษ
เราไม่โกรธ เคืองใคร
ยกให้ พร้อมอภัย
ไม่ถือโทษ อย่างไร
อยากทำ ก็ทำไป
อย่าหวัง เราผูกพัน
เรามี ความหวังดี
มองคน ในแง่ดี
ไม่มองร้าย ผู้ใด
มองร้าย ขาดอภัย
เห็นทุกข์ จากมองร้าย
ทุกข์ร้าย ภัยโกรธมา
ขอลา ความโกรธร้าย
ไม่คบหา ต่อกัน
พอที กับความโกรธ
ไปดี อย่ากลับมา
ลาแล้ว ลาขาดเลย
ตั้งอภัย กั้นโกรธ
ตั้งอภัย หลายชั้น
ป้องกัน ละอองโกรธ
โกรธเล็ก ต้องทิ้งไป
ตัวการ ไม่ชอบใจ
มีไว้ กำแพงพัง
กำจัด ไม่ชอบใจ
อุเบกขา หัวใจ
มั่น อุเบกขาไว้
ทุกเวลา ต้องทำ
อะไรเกิด ช่างมัน
ปล่อยวาง วางเฉยไว้
ช่างมัน พร้อมยกให้
มีอภัย ควบดี
ปล่อยวาง ให้ใจนิ่ง
ทุกสิ่ง ไม่ใช่เรา
เดี๋ยวเรา ก็ไปแล้ว
ไม่ผูกพัน ยินดี
มีอภัย ใจดี
อุเบกขา นำหน้า
ยกให้ อภัยตาม
ปล่อยวาง ธรรมชาติ
ธรรมดา โลกธรรม
กฎแห่งกรรม ช่างมัน
สำคัญ ต้องปล่อยวาง
สำเร็จ อภัยมี
สวัสดี ความโกรธ

๓๐ - ไตรลักษณ์

จิตคน มักตั้งดี
ตัวหวัง ซ่อนในดี
เหตุดี ได้สมหวัง
เหตุร้าย เป็นผิดหวัง
ทุกข์ร้าย เพราะความหวัง
เสียใจ เพราะผิดหวัง
หวังดี ทำไมเสีย
อยากดี ไม่อยากเสีย
สงสาร ขาดไตรลักษณ์
วนเวียน อยู่กับทุกข์
ละทุกข์ จิตตั้งเสีย
ทุกสิ่ง มีแต่เสีย
ไม่มีดี ถาวร
ดูทุกสิ่ง เป็นเสีย
เหตุเสีย ไม่ตกใจ
เป็นไป ตามจิตตั้ง
เหตุดี ทำเฉยเฉย
อาจดี แล้วเป็นเสีย
ลดตัวหวัง ลงได้
ไตรลักษณ์ ต้องกำหนด
เบื้องหน้า มีแต่เสีย
กำหนด ไว้ตลอด
เห็นทุกอย่าง เปลี่ยนแปลง
มีสิ้นสุด หมดไป
ทำใจ ให้ยอมรับ
สภาพของ ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ ต้องเพ่งเสีย
เพ่งดี ได้กิเลส
เกิดความหวัง พาจน
สร้างหวัง หลงติดดี
ได้ดี เป็นถูกใจ
อะไร เป็นสุขหมด
หลงโลก ขาดสติ
พอใจผล บนโลก
ยามผิดหวัง เสียใจ
เศร้าใจ ทำไมเสีย
อยากได้ดี สมหวัง
เป็นเวรกรรม ของสัตว์
ขาดผู้รู้ ชี้ทาง
วังวน ในกองทุกข์
ไตรลักษณ์ แสงสว่าง
ขององค์ พระผู้มี
ชี้ทาง ให้พ้นทุกข์
ปรับจิต ให้ตั้งเสีย
เตือนจิต ไว้ตลอด
อะไรเกิด รับได้
ทำใจแน่น ภูผา
กองลม รักษาไว้
ถนอมใจ ให้สุข
ปล่อยวาง ให้สบาย
ไตรลักษณ์ รักษาจิต
ปัญญาดี เห็นธรรม
ขยันทำ มากบ่อย
จิตผ่องใส ทุกเหตุ
เห็นรอย พระบาทพระ
เดินตามพระ ได้ดี
เข้าใจ ในไตรลักษณ์
ลดหวัง ตัวกิเลส
ตั้งเสีย แล้วได้ดี
ทำใจ ตอนเกิดเสีย
เป็นจริง ตามจิตตั้ง
ไม่กังวล ทุกข์ใจ
สุขใจดี รู้ทัน
ได้ดี เพราะไตรลักษณ์

๓๑ - อาวุธ

เหตุร้าย ต้องจัดการ
เตรียมอาวุธ ให้ดี
หนึ่ง “ยกให้” นำหน้า
ร้ายมา ยกให้หมด
ยกให้ ใจยังทุกข์
ความร้าย ดับลงครึ่ง
ยกให้ ซ้ำยกให้
แม้ผล จิตยังโกรธ
ไม่มี การโต้ตอบ
ภัยร้าย ไม่ก้าวหน้า
หากไม่มี ยกให้
เห็นที ต้องตอบโต้
เหตุร้าย เพิ่มขนาด
ทุกข์ร้อน เหมือนไฟไหม้
เผาไหม้ ทั้งกายใจ
รู้ตัว รีบยกให้
สอง “ช่างมัน” กำจัด
ยกให้ แล้วช่างมัน
ช่างมัน เรื่องของมัน
เฮงซวย ก็เรื่องมัน
ยกให้ เราไม่เกี่ยว
เชิญเลย ไปให้ไกล
ใจเรา เริ่มเป็นสุข
ไล่ทุกข์ ออกจากจิต
ตกค้าง ไม่เป็นไร
อันตราย ไม่มี
อาวุธดี หนึ่งสอง
ร่วมกัน กำจัดภัย
สิ่งร้าย บรรเทาได้
โชคดี มีอาวุธ
ยิ่งดี ถ้ามีสาม
สามคือ “การยอมรับ”
ปัญญา เริ่มทำงาน
หาต้นตอ เหตุร้าย
เข้าใจ การเกิดเหตุ
หาเหตุผล กำจัด
ยอมรับ มีผิดถูก
เราหลงยึด ถูกผิด
เห็นต่างคน ต่างคิด
คิดเข้าข้าง ตัวเอง
ผลได้ ไม่ลงตัว
คิดได้ เกิดยอมรับ
ใจสุข ต้องมีสี่
สี่คือ “ธรรมดา”
ยอมรับ ความเป็นจริง
เหตุดี ผลย่อมดี
เหตุร้าย ผลย่อมร้าย
สิ่งเดียว มีสองอย่าง
ร้ายดี อยู่ด้วยกัน
เราหลง ติดยึดดี
ลืมคิด ดีติดร้าย
เหตุร้าย เราไม่ยอม
เห็นตัวเรา สับสน
สำนึก ปัญญาเกิด
รู้ ธรรมชาติจิต
จิตเดิน ธรรมดา
จิตปล่อย จากเหตุร้าย
ไฟเผาไหม้ เริ่มดับ
สงบ สบายเกิด
ยิ้มได้ เมื่อเข้าใจ
สดใส จิตเบิกบาน
ภูมิใจ ที่ได้ใช้
อาวุธดี สี่อย่าง
สู่มรรคผล นิพพาน

๓๒ - ตัณหา

นิสัย อยากได้ดี
ไม่ดี ไม่อยากได้
กิเลส มักนำหน้า
พาไป เพราะตัณหา
ทุกอย่าง ต้องได้ดี
ตัณหา พาผูกแน่น
หวังได้ดี สมหวัง
เหตุเสีย เป็นผิดหวัง
ไม่อยากได้ เหตุเสีย
วิภว ตัณหา
เหตุเสีย สร้างผิดหวัง
สมหวัง เป็นตัณหา
ใจมี กิเลสนำ
นำทาง ให้เราเสีย
หลงอยู่ กับตัณหา
วิภว ตัณหา
ไตรลักษณ์ ช่วยแก้ใจ
ทุกสิ่ง ดูเป็นเสีย
รู้ว่าเสีย ใจเฉย
ความอยาก ไม่นำหน้า
ตัณหา อยู่หลังเรา
หน้าเรา มีความเฉย
นำทาง ไว้ได้ดี
กิเลส หลบไปหลัง
ธรรมดี นำหน้าเรา
พาเรา ไปทางดี
ไตรลักษณ์ ต้องระวัง
วิภว ตัณหา
ซ่อนมา ในไตรลักษณ์
ไม่ชอบ ในสิ่งเสีย
แยกแยะ ให้ดีดี
มองรู้ ดูตัวนำ
ธรรม หรือกิเลสนำ
ตัวปลง ธรรมผู้นำ
ตัวชอบ กิเลสนำ
ไตรลักษณ์ สร้างเข้าใจ
รู้จริง ตามสภาพ
ปัญญา รู้เห็นได้
กิเลสนำ ตัณหาเกิด
ชอบ ไม่ชอบ นำหน้า
ใจหลง ไปกับเหตุ
ภาวะ วิภาวะ
อยากได้ ไม่อยากหมด
หมดแล้ว อยากได้ใหม่
ไม่ดี ไม่อยากได้
อยาก ไม่อยาก วุ่นวาย
สับสน จิตมัวหมอง
เป็นยึดมั่น ถือมั่น
หลงใหล กับกิเลส
ติดยึด มันต้องดี
กิเลสนำ พาทุกข์
ตัณหานำ พาหลง
ยึดมั่นนำ พาจน
วังวน ในกองทุกข์
หนีทุกข์ ต้องไตรลักษณ์
เพ่งเสีย ให้นำหน้า
ตัณหา ไปอยู่หลัง
ทิ้งไป ให้ไกลไกล
ระวัง วิภาวะ
หลอกเรา ให้หลงทาง
ธรรมดี ให้นำหน้า
อารมณ์ดี ประกบ
ปัญญา ตามชิดชิด
หนีได้ ตัวตัณหา

๓๓ - สำนึก

ทิฏฐิ แพ้สำนึก
มานะ ที่ถือมั่น
ยึดมั่น หลงตัวตน
แพ้ได้ ด้วยสำนึก
สำนึก ต้องอ่อนโยน
ไม่แข็ง ไม่กระด้าง
สุภาพ ถ่อมตัวไว้
คนอื่น ต้องมาก่อน
ไม่เห็น แก่ตัวตน
รู้อยู่ เราบกพร่อง
เรายัง ไม่ดีพอ
ยังสร้าง ความหมองใจ
ให้ร้าย ใส่คนอื่น
หน้าบึ้ง สีหน้าเสีย
น้ำเสียง แข็งกระด้าง
คนรับ ได้สิ่งเสีย
มัวหมอง ไปกับเรา
เราคิด เข้าข้างตัว
ตัวเราดี เหนือกว่า
เราถูก อยู่คนเดียว
ไม่สน คนอื่นคิด
ไม่แคร์ ความรู้สึก
ทิฏฐิ เราสูงยิ่ง
มานะ เราหนาแน่น
ปิดกั้น ทางมรรคผล
วังวน กับกิเลส
ทำดี ต้องนุ่มนวล
อ่อนน้อม จิตใจดี
ไม่ทำร้าย ใครใคร
ขอโทษ ถ้าล่วงเกิน
วาจา การกระทำ
สำรวม ระวังพลาด
ไม่กระทบ หม่นหมอง
รู้ตัว มีสำนึก
ตัวเรา ยังไม่ดี
ย่อมเกิด ความผิดพลาด
โทษเรา อย่าโทษใคร
เหตุเสีย ต้องมีผิด
ผิดแรก ต้องโทษเรา
สำนึก พร้อมขอโทษ
อย่าหา คำแก้ตัว
ปัดผิด ให้พ้นตัว
เอาชั่ว ใส่คนอื่น
ไม่ละอาย แก่ใจ
ไม่สำนึก ละอาย
คิดชั่ว เราถูกหมด
ทิฏฐิ กิเลสหนา
บังตา ปิดกั้นใจ
จมอยู่ ในกองทุกข์
เหมือนบัว อยู่ใต้น้ำ
หมดโอกาส ได้ดี
ทำตัว ให้ติดดิน
เจียมตัว ไม่เห่อเหิม
สุภาพ มารยาท
เกรงใจ ไม่รบกวน
ไม่อ้าง ทวงบุญคุณ
ละอาย เราทำผิด
ไม่ควรเลย ที่ทำ
ขอโทษ ด้วยใจผิด
สัญญาว่า ไม่ทำ
ถือตัว เราอ่อนแล้ว
สำนึก ลดทิฏฐิ
ละอายใจ สำนึก
สำนึกแล้ว ได้ดี

๓๔ - เหตุ

ตั้งใจ คล้ายระวัง
สติตาม รู้สึก
จ้องสังเกต ดูไว้
รู้อยู่ เป็นอะไร
จิตตื่นตัว พร้อมรู้
ควบคุมรู้ จิตรู้
ตั้งใจ ให้มุ่งมั่น
เชื่อมั่น ว่าทำได้
ตั้งใจ ว่าทำดี
เป็นเป้าหมาย กำหนด
เหมือนใจ ที่มุ่งมั่น
ตั้งแล้ว ไม่ถอนหด
ศึกษา และค้นคว้า
เชื่อมั่น และมั่นใจ
ทางไกล ใช่ปัญหา
เวลา ที่ใส่ใจ
ทางไกล ดีกว่าหลง
วันหนึ่ง ต้องสุดทาง
ชีวิต ต้องดูแล
ธรรมะ ต้องรู้แจ้ง
ธรรมใด เกิดแต่เหตุ
ทำเหตุนั้น ให้แจ้ง
แล้วกำจัด เหตุนั้น
สิ้นจากจิต ของเรา
เหตุนั้น มีดีเสีย
ชอบ และไม่ชอบใจ
ชอบ ทำให้หลงติด
คิดอยาก ไม่รู้จบ
ไม่ชอบ ทำให้เบื่อ
คิดหนี ทิ้งทำลาย
สร้างสุขทุกข์ ตลอด
วนเวียน หมุนเวียนไป
ทางออก ต้องหยุดหวัง
ตัวหวัง สร้างติดยึด
เป็นสุขเป็นทุกข์ ร้าย
ทำลายจิต ชอกช้ำ
ใส่ใจสุข ก็เสีย
กังวล คิดอยากได้
ใส่ใจทุกข์ ก็เสีย
กังวล คิดทำลาย
ผิดที่เรา ติดสุข
ผิดที่เรา ติดทุกข์
เพราะใจเรา รักสุข
ใจชอบเกลียดทุกข์ ซ้ำ
วางใจ ให้พอดี
อย่าเกี่ยวสุข เอนทุกข์
อย่าแกว่ง จนเสียศูนย์
สุขทุกข์ คือสุขทุกข์
เป็นธรรมชาติ แท้
เป็นจริง ธรรมดา
ปัญหา อย่าคุมจิต
จิต ต้องคุมปัญหา
ปัญญา คู่กับจิต
จิต ไม่มีปัญหา
ใจนิ่ง อยู่ตรงกลาง
ระหว่างกั้น ดีเสีย
เหตุเกิด เพราะอยากหวัง
ดับเหตุ จงละหวัง
ตัวหวัง อันตราย
ความหวัง คือโมหะ
สมหวัง คือโลภะ
ผิดหวัง คือโทสะ
ตั้งมั่น ในธรรมละ
เชื่อมั่น ต้องสำเร็จ

๓๕ - อารมณ์

อารมณ์ เป็นตัวนำ
เหตุเกิด เพราะอารมณ์
เหตุดับ ก็อารมณ์
สำคัญ ต้องควบคุม
เอาดี ควบคุมร้าย
อย่าให้ ร้ายนำหน้า
อารมณ์โกรธ ตัวร้าย
เกิดแล้ว ควบคุมยาก
อารมณ์อยาก เช่นกัน
ควบคุม อยู่ได้ยาก
ทุกเหตุ สร้างอารมณ์
รัก โลภ โกรธ กังวล
เหตุเพราะ ชอบไม่ชอบ
เหมือนเรา อยู่วังวน
อยู่ใต้ อำนาจเหตุ
หลงยึด เหตุสุขทุกข์
เห็นภัย ต้องควบคุม
มีสติ กำลัง
ตั้งมั่น กำลังใจ
เหตุเกิด คุมอารมณ์
เหตุร้าย จะไม่เกิด
ถ้ามี อารมณ์ดี
ดับทุกข์ ก็เช่นกัน
ต้องมี อารมณ์ปล่อย
สร้าง อารมณ์ปล่อยไว้
มีอารมณ์ มรรคเกิด
ผลเพราะ อารมณ์ปล่อย
หมั่นสร้าง อารมณ์ปล่อย
เหตุมา ปล่อยได้หมด
ดีเหมือน มีตัวช่วย
ขาดอารมณ์ ไร้ผล
ทำการ ไม่สำเร็จ
อารมณ์ปล่อย ต้องมี
สร้างได้ ด้วยยอมรับ
เป้าหมาย ต้องมั่นคง
ทำการ เพื่อเป้าหมาย
หนทาง มีดีเสีย
ประสบการณ์ สอนดี
แยกแยะ หาผิดถูก
ผิดถูก เป็นครูได้
มุ่งมั่น เต็มกำลัง
ฝึกปล่อยวาง ให้คล่อง
อารมณ์เกิด รีบทำ
ปล่อยวาง ได้ใจใส
หากไม่มี อารมณ์
ปล่อยวาง ไม่สำเร็จ
ปากปล่อย แต่ใจติด
ปล่อยจริง ต้องอารมณ์
เหมือนตอน บรรลุธรรม
อารมณ์ ตั้งคอยอยู่
เหตุเกิด เข้าใจเหตุ
อารมณ์ปล่อย ทำงาน
บรรลุธรรม เป็นได้
สำคัญ เหมือนมีบุญ
รู้ทาง การบรรลุ
เหมือนง่าย ถ้าเข้าใจ
ทำแทบตาย ไม่เป็น
ที่แท้ ขาดอารมณ์
อารมณ์ สิ่งสำคัญ
ต้นตอ แห่งบรรลุ
ครูใหญ่ ชี้ให้เห็น
สติ กำลังใจ
อารมณ์ปล่อย พอดี
สำเร็จ มรรคผลได้

๓๖ - กำลังใจ

สติตั้ง หนักแน่น
ใจแน่น ดั่งภูผา
ไม่สะเทือน อ่อนไหว
สิ่งกระทบ รับได้
ข่าวร้าย ไม่เป็นไร
เห็นร้าย ไม่สะเทือน
อาการร้าย รับได้
เหมือนภูผา ตั้งมั่น
ไม่ยินดี ยินร้าย
อะไรเกิด รับได้
ใจกล้า และไม่กลัว
พร้อมเผชิญ ภัยร้าย
กำลังใจ ตั้งมั่น
ร้ายมา ยกทิ้งได้
ไม่เก็บ ติดในใจ
ปล่อยไป ไม่สนใจ
รู้อยู่ เป็นธรรมดา
ทำใจ ได้ว่างใส
อย่าทำใจ อ่อนแอ
อ่อนไหว กับทุกสิ่ง
ได้ยินร้าย เสียใจ
เห็นร้าย เกิดเศร้าหมอง
เหตุร้าย สะเทือนจิต
รับไม่ได้ สิ่งร้าย
จมอยู่ ในกองทุกข์
วังวน กับทุกข์ร้าย
หมองไหม้ ขาดสติ
รู้ตัว ให้แก้ไข
รีบสร้าง กำลังใจ
เข้มแข็ง อย่าอ่อนแอ
ฝึกจิต ให้ทนได้
เหมือนของหนัก ทับหิน
รับได้ ย่อมทิ้งได้
ใจเศร้า ไม่เป็นไร
ทิ้งบ่อย ใจย่อมใส
กำลังใจ สำคัญ
ต้องแข็ง มั่นคงไว้
อย่าเหมือน ทับลูกโป่ง
ลูกโป่ง ไม่ทนทับ
เกิดแตก ทำลายง่าย
ร้ายมา ลูกโป่งแตก
สติแยก ตามมา
อยากหนี ต้องทนได้
อย่ากลัว อย่าหวั่นไหว
หนีไม่พ้น ต้องเจอ
ไม่วันนี้ ก็พรุ่ง
รู้ตัว อย่าคิดหนี
ตั้งรับ ด้วยสติ
มั่นคง ด้วยรู้สึก
ทำใจ เหมือนแผ่นหิน
ร้ายทับ หินไม่แตก
เพียงรู้สึก ว่าหนัก
ยกสิ่งร้าย ทิ้งได้
ไม่หมด ก็เหลือน้อย
ใจคิดทิ้ง เป็นทิ้ง
ช่างมัน ไม่สนใจ
เรื่องใคร เรื่องของมัน
อย่าหนักใจ หินเรา
ปล่อยมัน ทิ้งมันไป
มาใหม่ ก็ยกทิ้ง
ขยันทำ มากบ่อย
อย่าท้อ ผลไม่มี
วันหนึ่ง ต้องเสร็จเรา
วันนั้น ร้องไชโย

๓๗ - บารมี

ไม่กลัว อยู่คนเดียว
ช่วยเหลือ ตัวเองได้
ไม่พึ่ง อาศัยใคร
ตัวเรา ไม่เกี่ยวใคร
จะเป็นตาย ก็เรา
เราอยู่ คนเดียวได้
ไม่มี คนรับใช้
หิว ป่วย ก็ตัวเรา
ใจเด็ดเดี่ยว เป็นหนึ่ง
ยามมืด อยู่คนเดียว
อันตราย รอบกาย
หนาวเหน็บ ทรมาน
เหงากาย ไร้ผู้คน
อยู่ได้ ด้วยใจมั่น
ต่อสู้ หนีความกลัว
สู้ได้ เพราะใจเด็ด
หนีทุกข์ ต้องใจสู้
อย่าอ่อนแอ พึ่งใคร
ทางออก ไปคนเดียว
จูงกันไป ไม่มี
หนีกลัว ได้ปัญญา
กำลัง สติมี
รู้ได้ เมื่อภัยมา
ทนได้ ขยันตาม
เป้าหมาย อันมั่นคง
แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง
ตั้งใจมั่น ไม่หนี
จริงใจ ไม่หลอกตัว
ลดละ ด้วยปล่อยวาง
ให้หลุดพ้น ยึดติด
ไม่มีของ ของเรา
ทุกสิ่ง อาศัยอยู่
ไม่ช้า เราต้องไป
พอเพียง ให้พอดี
ยอมรับ สิ่งที่เกิด
ภาวะ ธรรมชาติ
ยอมรับ ที่หนักแน่น
ชัดเจน ธรรมดา
สร้างปล่อย เกิดอารมณ์
พร้อมปล่อย อย่างเด็ดขาด
ได้บารมี จิตดี
เข้าแดน สุขาวดี
สิ่งดี เราได้แล้ว
สิ่งร้าย คลายจากจิต
ผลดี เราไม่ติด
ผลร้าย เราไม่สน
ใจเรา อยู่เฉยนิ่ง
สติคุม อาการ
รับได้ ทั้งดีเสีย
ยืดหยุ่น พร้อมปล่อยวาง
ทำได้บ่อย เคยชิน
สิ่งร้าย จิตไม่เอา
พัฒนา ด้านดี
จิตสดใส ด้วยคุณ
กำลังใจ มุ่งมั่น
ใฝ่ดี มีกำลัง
สติตั้ง มั่นไว้
ดูใจ ให้ปกติ
เป็นดี อย่าเป็นร้าย
ประคอง ถนอมใจ
รักษา ให้มั่นคง
เข้มแข็ง อย่าอ่อนไหว
ตัวเรา ต้องมีดี
เพื่อหลุดพ้น วงจร

๓๘ - ใบบัว

ทำใจ เหมือนใบบัว
ใบบัว ไม่ซับน้ำ
น้ำกลิ้ง บนใบบัว
กลิ้งมา แล้วกลิ้งทิ้ง
น้ำไม่ติด ใบบัว
ใบบัว มีของดี
สิ่งดี รักษาบัว
ทำใจ ดั่งใบบัว
โกรธมา ไม่ติดใจ
กระทบใจ แล้วทิ้ง
เหมือนน้ำ ทิ้งจากบัว
อยากมา ก็เช่นกัน
กังวล ก็เหมือนกัน
อย่าให้ติด ใจเรา
ปล่อยทุกสิ่ง เหมือนบัว
น้ำดี บัวก็ปล่อย
น้ำเสีย บัวก็ทิ้ง
ไม่ติด ทั้งดีเสีย
ใจเรา ก็เช่นกัน
ดีเสีย ต้องปล่อยไป
ใบบัว ช่วยเตือนจิต
คิดถึงบัว ดูใจ
ทำใจได้ ดั่งบัว
ปล่อยไป ไม่อาวรณ์
สิ่งดี ก็ต้องปล่อย
สิ่งเสีย ก็ต้องทิ้ง
ใจว่าง เป็นสุขดี
เห็นทุกสิ่ง จากไป
มาใหม่ ก็ทิ้งได้
ไม่ลำบาก หนักใจ
ทำให้บ่อย เคยชิน
อิสระ พ้นภัย
ใจใส อิ่มเบิกบาน
กิเลส ไม่ติดใจ
หากใบบัว ชำรุด
ใจทรุด แสนเจ็บช้ำ
น้ำดีเสีย ติดบัว
น้ำเสีย บัวเน่าเร็ว
เศร้าหมอง บัวขาดดี
ป้องกันตัว ไม่ได้
ปล่อยให้น้ำ กัดบัว
ที่สุด บัวผู้แพ้
เหมือนใจ ที่ขาดดี
ป้องกันโกรธ ไม่ได้
รับโกรธไว้ เต็มใจ
หมองไหม้ ด้วยพิษโกรธ
โทษร้าย ด้วยตัวโกรธ
อยาก กังวล เหมือนกัน
ทำร้ายใจ ขาดดี
หมั่นเสริม ให้จิตดี
ทำใจ เป็นภูผา
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
สิ่งกระทบ รับได้
รับแล้ว ให้ทิ้งไป
เหมือนใบบัว รับน้ำ
น้ำกลิ้ง บัวไม่ช้ำ
เหมือนใจ รับทุกข์ไว้
ทุกข์ไม่เข้า สู่ใจ
สิ่งดี อย่าหลงเก็บ
เก็บไว้ ย่อมเป็นโทษ
รู้อยู่ ว่าเป็นภัย
อารมณ์ตั้ง ที่พอ
ใบบัวหงาย รับน้ำ
บัวคว่ำ น้ำไปเอง

๓๙ - อนุสัยสติ

นึกคิด ถึงความดี
สิ่งดี ที่เราทำ
หลายคน สุขจากเรา
ได้ดี เนื่องด้วยเรา
เรามีดี ให้ดี
ให้ดี ไม่หวังผล
ส่งบุญ ให้เขาดี
ได้สุข หล่อเลี้ยงใจ
ชื่นใจ คิดถึงดี
เราเหมือน แสงสว่าง
ชี้ทาง ให้คนเดิน
คนเดิน ไม่หลงทาง
เรานำพา ไปดี
เส้นทาง แห่งบุญธรรม
สุขกาย พร้อมสุขใจ
ระงับทุกข์ หม่นหมอง
ประคอง ให้เกิดสุข
ดีใจ เราเป็นสุข
สุขนี้ เป็นธรรมชาติ
ทำดี ย่อมสุขใจ
อย่าหลง ในสุขนี้
รับรู้ รับอารมณ์
ให้ร้าย แก่คนอื่น
เป็นทุกข์ เกิดจากเรา
ตัวเรา ย่อมได้ทุกข์
ทุกข์นี้ เป็นธรรมดา
ทำดี ย่อมเป็นสุข
ทำชั่ว ย่อมได้ทุกข์
สุขทุกข์ ภาวะธรรม
อย่าติดสุข หลงทุกข์
ทางเดิน ต้องเป็นดี
มรรคผล ต้องทางสุข
บังคับ ต้องเดินดี
เกิดสุข อย่าหลงดี
รู้สึกดี วางดี
ดีสุข ธรรมชาติ
ใกล้มรรคผล ยิ่งสุข
สุขนั้น ละเอียดยิ่ง
ซ่อน ละมุนละไม
รู้สึกได้ ถึงสุข
อนุสัยนี้ เล็กนัก
จับยาก ต้องระวัง
กิเลส เล็กละเอียด
จับได้ เพราะรู้สึก
ปล่อยวาง ไม่ติดสุข
สุข เป็นธรรมดา
ใจเฉย บนความสุข
เฉยเฉย เป็นสุขไป
เข้าใจ อนุสัย
มีสุข ย่อมมีทุกข์
ทุกข์เล็กเล็ก หม่นหมอง
ซ่อนมา ในกังวล
ห่วงนิดนิด เป็นทุกข์
สงสัย เกิดคลื่นทุกข์
รู้ตัว รีบถอนทิ้ง
เราเดินผิด หลงทาง
มรรคผล เป็นทางสุข
ทางเดียว ที่ต้องไป
รักษาจิต คิดดี
อารมณ์ทุกข์ รีบทิ้ง
ผลดี อารมณ์ดี
หมั่นตรวจดู ตัวจิต
อนุสัย ตัวซ่อน
โชคดี ได้พบตัว

๔๐ - ทางเดียว

เราต้องเดิน คนเดียว
เส้นทาง แห่งมรรคผล
เป็นทาง เฉพาะตัว
ไม่เลียนแบบ ใครใคร
เดินแบบ ตัวของเรา
ถนัด ตามแบบเรา
คิด ต้องคิด ได้เอง
คนช่วยคิด ไม่แจ้ง
คิดเขา เราไม่รู้
คิดเรา เราเข้าใจ
ตามแบบ ฉบับเรา
สร้างทางเดิน ของเรา
อย่ามั่ว เส้นทางใคร
ทางเรา เดินคนเดียว
ทางเดิน เรามุ่งดี
ทางเสีย เราไม่ไป
อโคจร ต้องห้าม
เส้นทาง ไม่ควรไป
หม่นหมอง ทุกข์ร้อนใจ
เส้นทาง กามราคะ
หลงไป เป็นเสียการ
มุ่งดี เราต้องหยุด
ปิดทาง อโคจร
ของร้อน เราไม่เอา
ทางดี มีสุขใจ
ไตรลักษณ์ เครื่องนำทาง
เดินไป ไม่ย่อท้อ
ลำบาก ไม่เป็นไร
ทนได้ เรามุ่งดี
หกล้ม รีบลุกขึ้น
ล้มบ่อย เราไม่ท้อ
ธรรมดา ต้องล้ม
ใครใคร ก็ล้มเป็น
ปลดเปลื้อง สิ่งที่แบก
สิ่งแบก ไม่จำเป็น
ทิ้งไป อย่าอาวรณ์
เหลือไว้ คือหน้าที่
ภาระ ที่ต้องทำ
ตัวเบา เวลาเดิน
เดินคล่อง ทรงตัวดี
ปลดวาง ไปเรื่อยเรื่อย
เหลือน้อย ที่ต้องแบก
ใจเบา ตัวเบาแล้ว
ไม่เหนื่อย เห็นปลายทาง
รักษาใจ มั่นคง
ทางเดิน ต้องแจ่มใส
ไม่มีใคร เคียงข้าง
จูงกันไป ไม่มี
อย่าเกาะ ใบบุญใคร
ไม่จริง เกาะไม่ได้
ตัวเรา ต้องเดินเอง
พึ่งใคร ก็ไม่ได้
โชคดี พระชี้ทาง
บอกทาง ให้เราเดิน
เราต้องเดิน ไปเอง
ยากง่าย เราต้องไป
ทางเลือก มีหนึ่งเดียว
มุ่งหน้า อย่าหลงทาง
อโคจร ห้ามไว้
อย่าหลง เดินไปหา
ทางลำบาก ต้องสู้
ล้มแล้ว ลุกขึ้นใหม่
ไม่ท้อแท้ อ่อนแอ
มุ่งมั่น ถึงที่หมาย

๔๑ - สายกลาง

อย่าลืม อนิจจัง
ทุกอย่าง ย่อมไม่เที่ยง
มีมาก พาให้ทุกข์
มีน้อย แสนรำคาญ
ตึงไป มักเป็นโทษ
หย่อนไป เสียโอกาส
ควบคุม ให้พอดี
ดูใจ ที่ดิ้นรน
มากไป มักเสียหาย
พอใจ อย่าโลภมาก
น้อยไป ไม่พอการ
จัดหา ให้พอเหลือ
ควบคุมใจ อย่าโลภ
ตึงไป มักเป็นเครียด
มุ่งมั่น เพราะอยากได้
ใจเครียด มักร้อนรน
ขาดสติ รู้ชอบ
ใจหวัง ต่อผลมาก
เหมือนเดิน ขาข้างเดียว
ไปไม่ไกล เดี๋ยวล้ม
หย่อนไป มักขี้เกียจ
ขาดกำลัง ตั้งใจ
ผัดวัน ประกันพรุ่ง
ใจไม่มั่น ขาดดี
ผลงาน อันล้มเหลว
ปรับใจ ให้กระเตื้อง
เพิ่มแรง เพิ่มตั้งใจ
ใส่ใจ ให้พอดี
ตึงไป ลดลงได้
หย่อนไป สร้างขึ้นมา
ให้รวมกัน ตรงกลาง
เหมือนเดิน ได้สองขา
มั่นคง และเดินง่าย
ไกลใกล้ ไม่สำคัญ
ถึงเป้าหมาย ใจตั้ง
ความพอดี สำคัญ
ทำใจ ให้พอดี
พอดี มีดีเสีย
มุ่งดี อย่าลืมเสีย
เสียส่วนหนึ่ง ของดี
ดีเสีย อยู่ด้วยกัน
ใจอยู่ ระหว่างกลาง
ประคองใจ ศูนย์กลาง
พอดี สร้างพอใจ
ผลดี ไม่หลงตัว
ผลเสีย ไม่ตกใจ
โลกนี้ มีดีเสีย
ประคองใจ อย่าเอียง
อนิจจัง ไม่เที่ยง
อะไรเกิด ใจนิ่ง
วางใจ ไว้ตรงกลาง
ดีเสีย อยู่สองข้าง
ใจตรงกลาง รับได้
มีสติ ตั้งรับ
ใจพร้อม ไม่สะเทือน
เป็นสุข เพราะรู้ธรรม
ทิ้งกลาง ใจเป็นทุกข์
ใจเอียง ไปสุขทุกข์
ตรงกลาง มีตัวพอ
สร้างพอ ให้แข็งแรง
ปรับใจ ให้พอดี
สติคุม ไว้กลาง
เดินหน้า สู่มรรคผล
ถึงผล อันต้องการ

๔๒ - ซ่อนหา

ทุกข์ซ่อน อยู่ในสุข
สุขซ่อน อยู่ในทุกข์
หมดสุขแล้ว เจอทุกข์
หมดทุกข์ ย่อมเจอสุข
สุขทุกข์ ซ่อนกันอยู่
ร่วมอยู่ ที่เดียวกัน
ในสบาย ซ่อนทุกข์
กายดี ซ่อนความเจ็บ
กายดี ซ่อนความป่วย
กายดีเสีย ซ่อนตาย
สิ่งดี มีซ่อนเสีย
สิ่งเสีย มีซ่อนดี
ซ่อนกันอยู่ อย่างนี้
ทั้งหมด ซ่อนด้วยกัน
เป็นเหตุ ธรรมชาติ
ทุกอย่าง ต้องเป็นไป
ความจริง เป็นอย่างนี้
อย่าหลงยึด ผูกติด
ในรู้ ซ่อนไม่รู้
ไม่รู้ มีซ่อนรู้
ตั้งจิต ให้จิตดู
เห็นจิต ในตัวรู้
ฝึกรู้ ให้แม่นมั่น
เห็นสิ่ง ที่ซ่อนหา
ซ่อนมา และซ่อนอยู่
ตามทัน ตัวซ่อนหา
เหตุเกิด รู้ตัวซ่อน
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซ้อน
วันหนึ่ง ตัวซ่อนโผล่
รู้ก่อนโผล่ เป็นดี
เตรียมใจ เตรียมการไว้
ทำใจ ตามเรื่องไป
สิ่งที่โผล่ เข้าใจ
ทำใจได้ ก่อนโผล่
เห็น เป็นธรรมดา
ธรรมชาติ สร้างไว้
อยู่อย่าง ธรรมชาติ
ธรรมดา ช่างมัน
รู้เจ็บ ยอมรับเจ็บ
เจ็บเป็น อย่าแพ้เจ็บ
รู้ป่วย ยอมรับป่วย
ป่วยเป็น อย่าแพ้ป่วย
รู้ตาย ยอมรับตาย
เป็นตาย อย่าแพ้ตาย
อย่างไร ก็ต้องตาย
ไม่มีใคร ไม่ตาย
เห็นจริง ยอมรับไว้
ทำใจแล้ว ทำใจ
ดีที่เห็น ตัวซ่อน
โชคร้าย มองไม่เห็น
บุญกรรม ตัวนำพา
บารมี นำทาง
เห็นตัวซ่อน รีบทำ
ซ่อนโผล่ ไม่หนักใจ
รู้แล้ว ซ่อนต้องมา
มาดีมาร้าย เชิญ
ไม่กังวล หม่นหมอง
เข้าใจ ตัวที่โผล่
ทำใจ ทำการบ้าน
หมั่นตรวจสอบ แยกแยะ
สำคัญ ต้องตั้งมั่น
กำลังใจ เข้มแข็ง
มีแรง ต้านตัวซ่อน
ใช้กำจัด ตัวโผล่

๔๓ - เคลียร์

ใจเหมือน ถังขยะ
เก็บของเสีย ทุกสิ่ง
ขยะเสีย ลงถัง
นานไป ขยะเน่า
ขยะล้นถัง ยิ่งเน่า
กลาดเกลื่อน สกปรก
น่ารังเกียจ เสียหาย
ไม่มีใคร อยากใกล้
อยากดี ต้องเคลียร์ทิ้ง
ขยัน เก็บกวาดไว้
อย่าให้มาก ล้นถัง
เททิ้งหมด ยิ่งดี
เคลียร์ทิ้ง ให้ถังว่าง
ดูแล สะอาดไว้
สิ่งใดมา เททิ้ง
อย่าเก็บไว้ ใส่ถัง
เหมือน ขยะโกรธมา
ลงถังแล้ว เปรอะเปื้อน
นานวัน เกิดเน่าเสีย
ใหม่เติมมา ก็เน่า
เหม็นคลุ้ง ไปหลายวัน
นานนานไป ถังเสีย
ต้องเคลียร์ถัง บ่อยบ่อย
อย่าปล่อย ขยะเน่า
สิ่งใดมา รีบเคลียร์
เคลียร์ทิ้ง แล้วล้างถัง
ให้สะอาด เร็วไว
ใครเห็น ก็ชื่นชม
พิษขยะ ไม่มี
ใครใคร นิยมใกล้
เห็นคุณค่า ของเคลียร์
เคลียร์มากมาก ยิ่งดี
อยากดี ต้องมีเคลียร์
เคลียร์ได้ ต้องมีแรง
แรงคือ อุเบกขา
ใจตั้ง อุเบกขา
ทุกเวลา จ้องดู
สร้างแรง อุเบกขา
ให้มั่น แข็งแรงไว้
เพื่อใช้ เคลียร์ของเสีย
หมดแรง เคลียร์ไม่ออก
อุเบกขา ผู้นำ
ทุกเช้าค่ำ ต้องเคลียร์
ตรวจดู ขยะเสีย
ออกแรง ทิ้งขยะ
ตั้งใจ ให้มั่นมั่น
ขยันเคลียร์ มากบ่อย
ยิ่งเคลียร์ ถังยิ่งว่าง
ฟิตแรง ไว้ให้ดี
แรงของ อุเบกขา
เรียก อุเบกขาฌาน
สำคัญ ต้องมีไว้
ขยะหมด ด้วยแรง
แรงมาก เคลียร์ได้เร็ว
ขยะดี เช่นกัน
มีโทษ เป็นของเสีย
เคลียร์ทิ้ง เหมือนกันหมด
ไม่เหลือ ดีหรือเสีย
ดีเสีย เน่าเหมือนกัน
รักดี ต้องเคลียร์ทิ้ง
โชคดี ที่พบครู
ได้รู้ แนวจุดหมาย
ได้ฌาน อุเบกขา
ปัญหา หมดด้วยเคลียร์

๔๔ - หนีทุกข์

ใจไม่ปล่อย เป็นทุกข์
ใจปล่อย ย่อมเป็นสุข
เหตุดีร้าย ต้องปล่อย
ให้เกิดผล ชำนาญ
ทุกข์ไม่เกาะ กินใจ
มีแต่ สงบสุข
“อารมณ์ปล่อย” ตั้งมั่น
มีเป้าหมาย คือปล่อย
เหตุกระทบ เป็นปล่อย
อารมณ์ดี เป็นสุข
พระดี ทำแบบนี้
ทุกเวลา ปล่อยได้
เหตุป่วย ไม่กังวล
อยากป่วย เชิญป่วยไป
เหตุเสีย ไม่สะเทือน
ในปล่อย มีรู้แล้ว
เข้าใจ ไม่หม่นหมอง
อยากเป็น เชิญเป็นไป
เราเลือก ทางพระดี
มีสุข กับการปล่อย
ใจใสใส ไม่ติด
เหตุดี ก็ไม่ติด
อุเบกขา ทรงตัว
เห็นทาง ที่เดินไป
สุดท้าย เห็นธงชัย
ขยันทำ ไม่ท้อ
ไม่รอ เราจะไป
โลกไม่ให้ เราอยู่
คนโลก ต้องแบกทุกข์
ชอบจริง อยู่กับทุกข์
ชอบวิตก กังวล
เป็นนิสัย เคยตัว
สร้างทุกสิ่ง เข้าตัว
ทุกข์ทับ จนบี้แบน
พอใจ ให้ทุกข์ทับ
น่าสงสาร ชาวโลก
มีทุกข์ เป็นคู่แท้
ไม่ยอมแยก จากกัน
คนหนีทุกข์ เห็นทุกข์
ทำกิจ เพื่อหนีทุกข์
ระวัง มีตัวหลอก
หลงรักสุข เกลียดทุกข์
เป็นวังวน เวียนว่าย
หนีทุกข์ ไปเจอสุข
ได้สุข แล้วเป็นทุกข์
เช่นนี้ ทางออกตัน
ความเข้าใจ ต้องมี
รู้วิถี ของธรรม
เห็นทางออก แจ่มใส
รู้ดี จิตต้องปล่อย
ปล่อยแรก คือปล่อยทุกข์
อย่าให้ทุกข์ กินใจ
ปล่อยบ่อย ให้ชำนาญ
ทุกข์เริ่ม ไม่เกาะใจ
ขจัดออก บ่อยบ่อย
สร้างความ เข้าใจไว้
เป็นธรรมดา โลก
เป็นอยู่ อาการนี้
ไม่หลงยึด ผูกติด
ปล่อยวาง ช่างมันได้
เหตุทุกข์ เริ่มอ่อนนิ่ม
ง่ายต่อการ กำจัด
หยุดได้ ทำร้ายตัว
ถูกแล้ว ที่หนีได้

๔๕ - เป็นไท

เรียนรู้ เหมือนก๊อปปี้
จดจำ ถ่ายแบบไว้
แบบอย่าง ของคนอื่น
แบบนั้น ไม่เหมือนเรา
ดันทุรัง เลียนแบบ
เลียนได้ จดจำดี
ก๊อปปี้ ได้แม่นมั่น
หลงคิด เป็นแบบเรา
ยามเกิดเหตุ หลงทาง
ทำใจยาก ลำบาก
ก๊อปปี้ ใช้ไม่ได้
คนละเหตุ ต่างกัน
รู้เขา เราก๊อปปี้
รู้เรา หาไม่เจอ
ธรรมตัว หาให้พบ
ทางของเรา คือเรา
ธรรมเขา เราไม่เกี่ยว
สำคัญ ต้องธรรมเรา
เหตุเกิด ดูสำนึก
แยกแยะ หาผิดถูก
ผิดแล้ว มีสำนึก
หยุดได้ ในสิ่งผิด
ละอาย ในความชั่ว
ให้ทำ ในสิ่งดี
ธรรมเรา เริ่มมองเห็น
เป็นธรรม ของตัวเรา
เฉพาะเรา เท่านั้น
อย่าหลง ก๊อปปี้ใคร
สำนึกไว้ ให้มั่น
รู้ดี รู้ชั่วได้
แยกแยะ ให้ชัดเจน
ทางเดิน ย่อมแจ่มใส
อิสระ ความคิด
ไม่ติด ก๊อปปี้ใคร
สร้างตัวเรา ด้วยให้
ยอมรับ แล้วปล่อยไป
ให้ทุกสิ่ง เป็นไป
ตามสภาพ ของเหตุ
ใจให้ ปล่อยจากใจ
ใครใคร เราให้ได้
สิ่งของ หรือน้ำใจ
รวมอภัย ก็ให้
ให้หมดใจ ยอมหมด
ไม่เสียดาย อาวรณ์
สำนึก อยู่ไม่นาน
ไม่มี เป็นของเรา
พอแล้ว ไม่ขวนขวาย
หยุดแล้ว ความอยากได้
พอใจ เท่าที่มี
เดี๋ยวเรา ก็ไปแล้ว
สำนึก ใจที่พอ
พอแล้ว ได้พอใจ
สุขใจ สงบใส
ยินดี ที่พอใจ
ไม่หวัง สิ่งใดต่อ
พอแล้ว ไม่อยากหวัง
ตัวหวัง ตายจากจิต
ตัวสืบต่อ ก็หยุด
ปล่อยเหตุ ให้เป็นไป
ธรรมชาติ คือธรรม
เห็นเกิดดับ หมุนวน
ปล่อยใจ ได้สบาย
สงบใส อยู่ภายใน
วัฏฏะ หยุดนิ่งแล้ว

๔๖ - ไม่เอา

สิ่งเสีย เราไม่เอา
เป็นจริง ของทุกคน
มุ่งเอา แต่สิ่งดี
ได้ดี เป็นสุขใจ
สิ่งเสีย ไม่ถูกใจ
เก็บไว้ ใจขุ่นหมอง
เก็บของดี ชื่นใจ
มากไว้ ยิ่งสุขใจ
หลงใหล ใจติดดี
มุ่งพระ รู้จักพอ
ลดอยาก ความเบื้องต้น
หักห้ามใจ ไม่เอา
ยื่นให้ ก็ไม่เอา
แม้อยากได้ ต้องห้าม
ไม่เอา ไม่เอาไว้
ปล่อยไป เราไม่เอา
สิ่งดี เราเป็นพอ
สิ่งเสีย เราไม่เอา
เกิดโกรธ ไม่เอาโกรธ
ไม่เก็บโกรธ ใส่ใจ
ไล่โกรธ ให้พ้นใจ
ทำใจ ให้ว่างพอ
อยากได้ ก็ต้องหยุด
พอไว้ก่อน ชั่งใจ
สร้างใจ ให้ชินพอ
มักน้อย ถนอมใจ
มักมาก อันตราย
ทำลายจิต หมดดี
กังวล เพราะใจติด
ติดดีเสีย ใจหวัง
หวังดี เกิดสมหวัง
ผิดหวัง ตอนเกิดเสีย
ดีเสีย เพราะใจติด
ต้องทิ้ง ไม่ติดหวัง
ตรวจจิต ดูติดหวัง
รู้ตัว รีบแก้ไข
ไตรลักษณ์ ใช้ให้เป็น
เดินหน้า ทวนหลังไว้
ขยันทำ มากบ่อย
จิตคลาย ความติดยึด
พอ ไม่เอา ช่างมัน
สิ่งดีเสีย พอแล้ว
ไม่เอา ไม่เก็บไว้
ปล่อยไป ใจสบาย
พอ สร้างคนเป็นพระ
ลดละ สิ่งอยากได้
ละโกรธ และกังวล
ลดใจ ที่หม่นหมอง
สร้างจิต ให้เบิกบาน
ทำมาก ยิ่งแจ่มใส
เบื้องต้น รู้จักพอ
สร้างพอ ให้มั่นคง
ไม่เอา เป็นกองหนุน
ช่วยประคอง ร่วมกัน
ไตรลักษณ์ สิ่งสำคัญ
ยอมรับ ตามไตรลักษณ์
ใจสงบ เสงี่ยม
สุขใจ ได้มรรคผล
แม้เบื้องต้น พอใจ
ดำเนินไป ตามธรรม
ทางเดิน แห่งธรรมเรา
ไป สม่ำเสมอ
ตามจังหวะ แห่งธรรม
ถึงที่หมาย พบพระ

๔๗ - ไม่คิด

กังวลหยุด สองแนว
หนึ่งคิดปลง ทำใจ
สองปล่อยไป ไม่คิด
สองวิธี ต้องใช้
แรงมา ต้านไม่อยู่
จิตวางทิ้ง ไม่คิด
คิดไป ใจมันเศร้า
คิดทำไม ใจเศร้า
รักษาจิต ไม่ช้ำ
ปัญหา ไม่สนใจ
หยุดชั่วคราว พักจิต
จิตดี จึงค่อยคิด
หาสภาพ เหตุผล
ปลงใจ ตามเหตุธรรม
ไม่คิด ต้องลมช่วย
กองลม เสริมกำลัง
พักชั่วคราว กังวล
คุมใจ ไม่ให้คิด
สติตั้ง ที่กองลม
กองลม หยุดความคิด
ใจมีแรง ค่อยคิด
หาเหตุผล ความจริง
ปลงใจ ให้ทุกข์หาย
ไตรลักษณ์ สิ่งจำเป็น
จิตหมอง ให้เลิกคิด
คิดไป ใจยิ่งทุกข์
หยุดคิด รักษาใจ
กองลม ตั้งให้มั่น
ไม่คิด ใช้คู่ปลง
สลับกัน ทำงาน
คิดปลง ได้ปัญญา
ค้นได้ ต้นตอเหตุ
เหตุเกิด มีปัจจัย
รู้แล้ว ทางปลงมา
ไม่คิด ใช้ตอนวุ่น
สับสน คิดไม่ออก
ยิ่งคิด ใจยิ่งกลุ้ม
ทุกข์หนัก มีกังวล
หยุดคิด ใช้กองลม
ควบคุม เสริมกำลัง
มีแรง มีใจคิด
คิดได้ จิตได้ปลง
คิดดี มีประโยชน์
คิดร้าย เป็นโทษหนัก
ความคิด ต้องควบคุม
อย่าปล่อย คิดเตลิด
ฟุ้งซ่าน ไร้ขอบเขต
ปัจจัยเหตุ เกิดทุกข์
คิดดี มีน้ำหนัก
เหตุผลชัด หนักแน่น
รู้จริง กับปัญหา
สิ่งเกิด รู้ตามทัน
ความคิด สิ่งวิเศษ
ธรรมเกิด ด้วยปัญญา
ปัญญาเกิด ด้วยคิด
คิดดี สิ่งต้องการ
ใจหมอง ให้ทิ้งคิด
หยุดคิด หยุดกระทำ
กองลม นำมาใช้
สติคุม ไม่คิด
หยุดวิตก กังวล
แรงมี กลับมาคิด
คิดดี มีแจ่มแจ้ง
ปลงได้ ด้วยความคิด

๔๘ - กรรม

วัฏฏะ กรรมดีเสีย
หมุนเวียน เกิดดับไป
ควบคู่ ไปกับสัตว์
เกิดดับ สลับไป
สุขทุกข์ ไปตามกรรม
กรรมดี เสวยสุข
กรรมทุกข์ สลดใจ
เบื้องต้น การกระทำ
ส่งผล ไปเป็นกรรม
สร้างบาป หนทางแย่
สร้างบุญ หนทางดี
หนีไม่ได้ ผลกรรม
ทำชั่ว เตรียมรับชั่ว
ผลชั่ว คอยเราอยู่
ช้าเร็ว เป็นได้เจอ
ทั้งตัวกรรม เศษกรรม
กรรมใหญ่ ลงอบาย
ไปขัดเกลา จิตใหม่
บังคับ ดัดสันดาน
แล้วมา เริ่มต้นใหม่
ให้โอกาส ทำดี
ไม่ดี ลงไปใหม่
สลับกัน เป็นวัฏฏะ
มีดี ไปสุคติ
หมดดี ลงมาใหม่
ทำดี ต่อบุญไป
สัตว์โลก ไปตามกรรม
วัฏฏะ ของสุขทุกข์
วัฏฏะ กรรมลิขิต
ให้เรา ต้องเดินตาม
สร้างดี ทางย่อมดี
พบดี สร้างประโยชน์
สร้างชั่ว หนทางดับ
ผิดหวัง ในผลกรรม
เรามีศีล ทรงดี
ผลศีล ตอบสนอง
ให้อยู่ดี มีสุข
ผลได้ พรหมวิหาร
หนทาง แห่งมรรคผล
ได้ดี เพราะกรรมดี
กรรมคือ การกระทำ
ทำดี ย่อมเป็นสุข
ทำชั่ว จิตหม่นหมอง
ไร้สุข ทุกข์กังวล
หนทาง อันสับสน
ยุ่งยาก แสนลำบาก
ดวงจิต ยิ่งมืดมน
เหมือนเดิน ลงเหวลึก
ไม่พบ แสงสว่าง
ยิ่งลึก ยิ่งปวดร้าว
สุขทุกข์ กรรมผู้ชี้
ดีให้ไป ทางสุข
ชั่วให้ไป ทางทุกข์
วัฏฏะ เวียนว่ายกรรม
หยุดได้ ด้วยบารมี
แห่งองค์ พระผู้มี
ชี้ให้เห็น ทางออก
พ้นจาก วัฏฏะกรรม
ทำตาม คำสอนพระ
มุ่งดี เพื่อหลุดพ้น
ด้วยธรรมพระ ลดละ
ปล่อยวาง ทั้งสุขทุกข์
ว่างสุด หมดมลทิน
สิ้นแล้ว วัฏฏะกรรม

๔๙ - เจียระไน

เพชรดิบ คุณค่าน้อย
เม็ดเล็ก ค่ายิ่งน้อย
เม็ดใหญ่ มากคุณค่า
เพชรดี ต้องเจียระไน
ฝีมือดี เพชรงาม
เปล่งแสง เพชรเจิดจ้า
เม็ดเล็ก น้ำเพชรงาม
มากคุณค่า สมเพชร
ใครใครเห็น นิยม
สุขใจ ได้แลเห็น
เพชรใหญ่ น้ำงามยิ่ง
เปล่งปลั่ง ด้วยแสงเพชร
บอกถึง คุณค่าเพชร
แค่เห็น ก็สุขใจ
เหมือนธรรม ขององค์พระ
เป็นธรรมดิบ เลิศล้ำ
ใหญ่เล็ก ค่าเหมือนกัน
ธรรมต้อง เจียระไน
คนเจียร คือตัวเรา
เจียรให้งาม เปล่งแสง
เจียรยาก ต้องบากบั่น
มุ่งมั่น ให้เพชรงาม
ลำบาก ต้องทนได้
มีหลัก แนวการเจียร
บารมีสิบ ต้องใช้
หัวใจ หลักการเจียร
กองลม และไตรลักษณ์
พรหมวิหาร ร่วมทำการ
มีจังหวะ การเจียร
เร่งมาก เพชรไม่งาม
ช้าไป มักเสียงาน
หาจุดกลาง พอดี
เดินหน้า เริ่มการเจียร
เหนื่อยนัก หยุดพักก่อน
มีแรง แล้วเดินใหม่
ทางยาว ไม่สนใจ
หนึ่งก้าว สั้นหนึ่งก้าว
วันสำเร็จ คอยอยู่
อย่าหลงทาง เป็นพอ
มองหลักชัย ไว้ตลอด
เป้าหมาย ไม่เปลี่ยนแปลง
อุปสรรค ไม่ท้อ
เพชรดิบ เริ่มเปลี่ยนร่าง
ธรรมดิบ เริ่มเปล่งแสง
เปล่งประกาย แสงธรรม
รังสี สุขสงบ
ชื่นใจ พบแสงธรรม
เลิศล้ำ กว่าสิ่งใด
ประกายเพชร ยังด้อย
สู้แสงธรรม ไม่ได้
บุคคล คล้ายดั่งเพชร
เป็นเพชรดิบ ทุกคน
เราต้อง เจียรตัวเรา
ให้ดีงาม ดั่งเพชร
เพชรดี ใครใครรัก
เจียรให้งาม สุดสุด
เหมือนธรรม พระผู้มี
ได้รับแล้ว ต้องเจียร
ธรรมดิบ เจียรให้ใส
ให้เปล่ง ประกายธรรม
เจิดจ้า ทรงคุณค่า
ตัวเรา ได้เจียรแล้ว
ด้วยความยาก ลำบาก
ผลได้ คือมรรคผล

๕๐ - อยู่ได้

เราต้อง อยู่กับมัน
เป็นส่วนหนึ่ง ของเรา
อย่าคิดหนี ป่วยการ
ยอมรับแล้ว ใจสุข
ทำตัว อยู่กับมัน
อยู่ได้ ให้เป็นสุข
คิดต่อต้าน ใจทุกข์
ทุกข์เพราะเรา ติดยึด
หวังให้ เป็นอยู่ดี
ให้ถูกใจ ใช้ได้
ความจริง คือไม่แน่
ไม่มี สุขตลอด
หมดสบาย แล้วทุกข์
ดิ้นรน เพื่อคืนกลับ
คืนไม่ได้ ยิ่งทุกข์
หม่นหมอง สุดลำเค็ญ
ทุกข์ภัย เพราะประมาท
ขาดชี้แนะ เรียนรู้
ไตรลักษณ์ นำยอมรับ
ความจริง หนีไม่พ้น
ทำใจ รับไตรลักษณ์
เหตุนั้น อยู่กับเรา
เราต้อง อยู่กับมัน
ดีชั่ว ต้องอยู่ได้
มันอยู่ ติดตัวเรา
ไม่ได้อยู่ ติดใจ
ตายแล้ว ทุกอย่างจบ
กายพัง เหตุพังด้วย
มันไม่ ติดใจไป
มันตาย พร้อมกับกาย
ทำใจ ให้ว่างใส
เหตุเกิด ติดแค่กาย
ป่วยเจ็บไข้ เรื่องกาย
เราต้องอยู่ กับป่วย
แม้ร่างกาย ลำบาก
ใจเรา อย่าลำบาก
เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิต
อยู่กับมัน ให้ได้
ชอบไม่ชอบ ต้องอยู่
ยอมรับ ไม่ต่อต้าน
ความจน มากปัญหา
ขัดข้อง แสนลำเค็ญ
ทุกเข็ญ เพราะไม่พอ
เราต้อง อยู่ให้ได้
หนีไปไหน ไม่พ้น
ความจน ยังติดตัว
ป่วยยังอยู่ กับเรา
ดิ้นรน ก็ไม่พ้น
สู้ยอมรับ ทำใจ
อยู่ได้ กับทุกเหตุ
ดีชั่ว สุขสบาย
ทำใจ ให้ตั้งมั่น
ไม่กลัว ไม่ท้อแท้
ไม่หวั่นไหว อ่อนแอ
ส่วนมาก เรื่องของกาย
จิตรับรู้ สภาพ
จิตเสีย เพราะยึดกาย
หลงเรื่องกาย เป็นเรา
สุขทุกข์ เรายุ่งเอง
มัวหมอง ไปกับเหตุ
จิตดี ไม่ติดกาย
เรื่องกาย จิตเข้าใจ
ยอมรับ เป็นส่วนหนึ่ง
เป็นสุข เพราะอยู่ได้

๕๑ - เพื่อนกัน

ร่างกาย เป็นเพื่อนฉัน
อยู่ด้วยกัน ตลอด
เจ็บป่วย เพื่อนลำบาก
ขัดข้อง เพื่อนเป็นทุกข์
สุขสบาย เพื่อนยิ้ม
เพื่อนสุข ฉันสุขด้วย
เราหนีกัน ไม่ได้
กอดคอ ตายด้วยกัน
ความจน ก็เป็นเพื่อน
ความรวย ก็เป็นเพื่อน
สุขทุกข์ เป็นเพื่อนแท้
ใกล้ชิด แนบสนิท
ไปไหน เพื่อนไปด้วย
เพื่อนเป็นเลว เราแย่
เสียใจ เพื่อนมีกรรม
ทุกข์ร้อน แสนสาหัส
ช่วยตัวเอง ไม่ได้
ซ้ำร้าย ฉันโดนด้วย
เพื่อนเจอร้าย เราทรุด
เหมือนฉัน โดนทำร้าย
หมั่นเฝ้า ดูแลเพื่อน
ตามใจ ยอมรับใช้
ทุ่มเท สุดชีวิต
เพื่อนไม่ ตอบสนอง
ฉันโง่ เพราะรักเพื่อน
หลงใหล ในตัวเพื่อน
เป็นส่วนหนึ่ง ของฉัน
ฉันคิด เป็นเจ้าของ
วุ่นวาย เพราะฉันยึด
ตัวเพื่อน เป็นตัวฉัน
ร่วมกัน อยู่กับทุกข์
โดนบังคับ ให้อยู่
ฉันต้องอยู่ ให้ได้
ลำบาก ก็ต้องอยู่
อวยชัย ให้เพื่อนดี
อยู่ดีดี มีสุข
เพื่อนหนี เราไม่ได้
เราก็หนี ไม่ได้
เป็นส่วนหนึ่ง ของกัน
เป็นฝาแฝด คู่ทุกข์
เพื่อนเจ็บ เราเจ็บด้วย
เพื่อนป่วย เหมือนเราป่วย
เพื่อนสุข อารมณ์ดี
ดีใจ เพื่อนเป็นสุข
เรารักกัน มานาน
อยู่นาน หลายแสนกัปป์
เริ่มเบื่อ เหม็นหน้าเพื่อน
คลายรัก หมดอาลัย
สิ้นหมดรัก ต่อกัน
ขอลา ความเป็นเพื่อน
ฉันไป เพื่อนจงอยู่
อยู่กับโลก อันโสภา
ฉันไป อยู่ที่ใหม่
อยู่คนเดียว ไร้เพื่อน
เบา ว่าง สุขสบาย
ไปไหน ไปคนเดียว
ไม่มี เพื่อนคู่แฝด
หยุดส่วนหนึ่ง ของฉัน
ฉันลาแล้ว ลาขาด
ไม่ใฝ่หา มีเพื่อน
พอแล้ว การคบหา
หยุดแล้ว ความอยากได้
อิสระ เป็นไท
ใครใครร้อง สาธุ

๕๒ - พอ

สิ่งชอบใจ เกิดพอ
ยับยั้ง ตัดใจได้
เหมือนเบื่อ แต่ไม่ใช่
ใจรู้สึก พอแล้ว
สิ่งชอบ ยังชอบอยู่
พอแล้ว ไม่อยากได้
ใจเฉยเฉย เป็นสุข
ไม่ดิ้นรน ใฝ่หา
ความอยาก ดับลงครึ่ง
กังวล ลดลงด้วย
พอแล้ว ใจเบาเบา
สงบสุข ไม่ดิ้นรน
ถูกทาง ลดกิเลส
ทางเดิน แสงสว่าง
สิ่งไม่ชอบ เกิดเบื่อ
สร้างรำคาญ จิตค้าน
ไม่ชอบใจ ที่ได้
สิ่งไม่ชอบ กวนใจ
เช่นนี้ จิตติดดี
อยากดี ไม่อยากเสีย
นิพพิทา ไม่จริง
หลงหลอก ให้ผิดทาง
เบื่อนี้ เป็นเบื่อเทียม
ยามได้ดี เบื่อหาย
นิพพิทา คือพอ
พอแล้ว กับสิ่งมี
ชอบ ไม่ชอบ พอแล้ว
หยุดได้ ใจสงบ
พอแล้ว กับชีวิต
พอแล้ว กับทรัพย์สิน
พอแล้ว โลกธรรม
กฎแห่งกรรม พอด้วย
ดูมี เหมือนไม่มี
เห็นทุกสิ่ง ตั้งอยู่
เปลี่ยนแปลง ตามสภาพ
สุดท้าย สลายตัว
ความพอใจ ลดลง
ไม่ชอบใจ ลดด้วย
จิตสงบ มากขึ้น
เห็นตัวตน ไม่มี
จิตพอ ตั้งเด่นใส
สติมั่น ร่วมพอ
สงบสุข ภายใน
มั่นใจ ทางเดินเรา
ได้ นิพพิทาญาณ
อารมณ์สุข ด้วยพอ
ไม่ชอบใจ คือเบื่อ
อารมณ์เศร้า ไม่ใส
ระวัง สองอารมณ์
จริงหลอก เรารู้ได้
สำคัญ อย่าหลอกตัว
เสแสร้ง ให้เกิดเบื่อ
อารมณ์พอ เป็นพระ
ละได้ กับทุกสิ่ง
ร่างกาย และทรัพย์สิน
วิถี โลกธรรม
กฎแห่งกรรม วางได้
พอแล้ว กับทุกสิ่ง
ซาบซึ้ง ในพระธรรม
ขององค์ พระผู้มี
ชี้ทาง แสงสว่าง
สัตว์โลก ได้เดินตาม
หนทาง แสนสะอาด
ประกาศไว้ แดนชัย

๕๓ - ยอม

เหตุเสีย ทำใจยอม
สิ่งเสีย เราก็ยอม
ยอมแล้ว ใจหายเครียด
ไม่ยอม ใจเป็นเครียด
ไม่ยอม ทำใจยาก
จิตวังวน หม่นหมอง
คิดเป็น จิตมุ่งร้าย
ให้เป็นไป ฉิบหาย
หวังได้ ความถูกใจ
ลืมทำใจ หมดสิ้น
ให้ทุกข์ ครอบงำจิต
ไม่ยอม พาให้ติด
หยุดแล้ว เจริญธรรม
เหมือนยามมืด ไฟดับ
มุ่งดี ต้องหัดยอม
ยอมเสีย ปล่อยมันไป
ยอมฉิบหาย ช่างมัน
ทำดี แล้วเสีย ยอม
ยอมแล้ว เราไม่เอา
เราไม่แข่ง กับใคร
ไม่หาเรื่อง กับใคร
คล้ายเหมือน การยอมแพ้
ไม่อยาก สร้างปัญหา
ใครด่าว่า เรายอม
ไม่อ่อนไหว เสียใจ
ใจเฉย เรายอมให้
รบกวนมา เราถอย
ยอมถอย ไม่เดินหน้า
ปัญหา หมดที่เรา
ไฟร้อน ดับที่เรา
ยอมรับ สร้างตัวยอม
ยอมรับ ใจยังเศร้า
รู้อยู่ ยังมีติด
ยังหวัง ให้เกิดดี
จิตหวัง ตั้งอยากดี
ยามเสีย ให้ใจรับ
ยอมรับ ว่ามันเสีย
เป็นจริง ตามไตรลักษณ์
ยอมรับ ในความจริง
ปล่อยได้จริง คือยอม
อารมณ์ยอม เป็นสุข
ทำง่าย ต้องพลิกใจ
ทำใจ หัดให้ยอม
หัดแรก ยอมเล็กเล็ก
ติดเศร้า ไม่เป็นไร
ฝึกไว้ ให้ชำนาญ
วันหนึ่ง ยอมได้จริง
เห็นไม่ยอม เป็นภัย
จิตหมองไหม้ ดำมืด
จิตขาดดี รักษา
เรียนไตรลักษณ์ ให้แม่น
ให้รู้ วิถีธรรม
ยอมรับแล้ว ทำใจ
ปล่อยไป ให้ใจยอม
สิ่งใดเกิด เรื่องเล็ก
อะไรเกิด เป็นยอม
เห็นจริง ปรกติ
ธรรมชาติ ของจริง
ทุกสิ่ง มีแนวทาง
เป็นไป ตามสภาพ
ไม่ฝืน ธรรมชาติ
จิตยอม ไปด้วยกัน
ใจว่าง สว่างนิ่ง
ดีใจ ที่ยอมแล้ว

๕๔ - ยอมรับ

ยอมรับ คือรับได้
ไม่ยอม รับไม่ได้
สุขพอใจ รับได้
เป็นทุกข์ รับไม่ได้
จิตมักเป็น เช่นนี้
หลงผูกติด หลงใหล
วนเวียน อยู่กับโลก
อยู่นาน โลกพาหลง
แบกสุข แบกทุกข์ไว้
ช้ำใจ สุดทนทาน
ลำบาก แสนลำเค็ญ
มองไม่เห็น ทางออก
โชคดี ได้พบพระ
ชี้ทางออก สว่าง
พระสั่ง ให้ยอมรับ
ในทุกทุก สิ่งเสีย
ยอมรับ ว่ามันเสีย
ยอมรับ ว่ามันเสื่อม
ยอมรับ ว่ามันสูญ
สภาพ บอกของจริง
ธรรมดา เป็นไป
ยอมรับ ให้จริงจริง
ยอมป่วยเจ็บ ยอมตาย
ยอมไหม ฉันยอมแล้ว
ไม่ใส่ใจ ละได้
จะเสื่อม จะเสียช่าง
ใจเกิด สงบใส
ปล่อยมาก ยิ่งใสมาก
เอาเหตุ ใส่ยอมรับ
ยอมรับเหตุ แล้วทิ้ง
ทุกเหตุ ทำเหมือนกัน
ตั้งยอมรับ ให้มั่น
แล้วปล่อย ให้ใจใส
ทำให้เกิด ชำนาญ
ยิ่งชำนาญ เกิดผล
ออกจาก วังวนได้
ใส่ใจ ด้วยยอมรับ
เป็นกุญแจ เปิดทาง
ปล่อยวาง ให้จิตว่าง
จิตได้ อุเบกขา
สิ่งดี วางได้ด้วย
ยอมรับ แล้วปล่อยไป
จิตตั้งเฉย ยอมรับ
คำว่า “ต้อง” อย่ามี
“ต้อง” เป็นการผูกติด
ปล่อย “ต้อง” ทิ้งจากจิต
“ทำไม” ก็อย่ามี
มีเหมือน ไม่ยอมรับ
ให้ทิ้ง “ทำไม” ด้วย
“ต้อง” “ทำไม” อย่ามี
ระวังจิต ตรวจดู
รู้มี ให้เคลียร์ทิ้ง
ตั้งจิต ให้มั่นคง
สร้างเป้าหมาย ทางออก
ทำดี เพื่อเป้าหมาย
แม้ตาย ก็ไม่ถอย
ผลได้ ที่ใจสุข
บริสุทธิ์ สดใส
ทางออก ใสสว่าง
จากโลก แล้วไม่กลับ
ขอบพระคุณ องค์พระ
พระมี พระคุณยิ่ง
ชีวิตดี ด้วยคุณ
บูชาคุณ เหนือเศียร

๕๕ - ยอมแพ้

ยอมแพ้ คือชนะ
ไม่ยอมแพ้ จิตต้าน
ยอมแพ้แล้ว ใจปล่อย
ไม่ยอม มีแต่ทุกข์
หาทางออก วุ่นวาย
อารมณ์เครียด หม่นหมอง
สับสน กับปัญหา
หาทางแก้ ต่อต้าน
ทางออก เหมือนทางตัน
แก้ไม่ไหว ยิ่งหนัก
ยอมแพ้แล้ว ไม่เอา
หมดกังวล หมดเครียด
เหมือนยกหิน พ้นอก
ยอมแล้ว ไม่ต่อสู้
มาดี มาร้าย เชิญ
อะไรเกิด ก็เชิญ
สิ่งใดใด ไม่เอา
เชิญเลย เราไม่ยึด
ปล่อยใจยอม หมดห่วง
เหมือนสิ่งร้าย พ้นจิต
ยอมจริงจริง หมดใจ
ยอมแพ้ เป็นวิเศษ
ไม่ต่อสู้ กิเลส
ไม่ทุกข์ กับกิเลส
กิเลส ถอยไปเอง
ต่อสู้ด้วย เราแย่
บอบช้ำ แสนสาหัส
ผลลัพธ์ เราไม่ดี
ติดยึด เรายังมี
กิเลส อนุสัย
ชนะกิเลส ยาก
มรรคผล ได้ลำบาก
ชนะใจ ต้องยอม
ยอมแพ้ ได้ชนะ
ชนะใจ ตัวเรา
กิเลส แพ้ไปเอง
เห็นยอมแพ้ มีคุณ
ลดทิฏฐิ มานะ
ตัวตน ซึ่งของกู
ความอยาก กังวล สิ้น
โกรธมา ไม่อยากโกรธ
ยอมแล้ว ยกให้หมด
ใจว่าง สงบใส
ยอมแพ้ พอไม่เอา
หมดแล้ว การต่อสู้
อารมณ์พอ เด่นชัด
อารมณ์ยอม ตั้งเด่น
สองอารมณ์ รวมหนึ่ง
ใจเบา สงบนิ่ง
ปล่อยทุกสิ่ง เป็นไป
ร่างกาย เป็นที่รัก
ปล่อยได้ เราจากกัน
ไม่อาลัย เรายอม
ป่วย เจ็บ ตาย เชิญเลย
โลกธรรม ที่หลง
พอแล้ว เราไม่สน
ยอมแล้ว ไม่ขวนขวาย
ไปเถอะ เราพอแล้ว
กฎแห่งกรรม คู่ฉัน
ลาแล้ว เชิญกฎอยู่
ไม่ต่อสู้ เรายอม
ยอมแพ้ ไม่อายหน้า
พอแล้ว สะใจเรา
ยอมแพ้ กลับเป็นชัย

๕๖ - ปลด

เตรียมตัว ไปได้แล้ว
ตรวจดู ถึงความพร้อม
เตือนตน ให้พร้อมไป
เวลา ใกล้เข้ามา
ขอลา โลกใบนี้
ทุกทุก ความวุ่นวาย
ตัดใจ ทำใจได้
ไม่ห่วง กังวลใด
ขอลา เจ้าขันธ์ห้า
ให้พักพิง อาศัย
สร้างกุศล ผลบุญ
บุญต่อบุญ ก้าวหน้า
ขอลา เจ้าขันธ์เสื่อม
ขันธ์เจ้า ไม่มั่นคง
หลงรัก หวงแหนเจ้า
เศร้าใจ ไม่สมหวัง
สุขใจ ยามขันธ์ดี
ใจหลงขันธ์ วุ่นวาย
สุดท้าย ต้องจากกัน
เราขอจาก ไปก่อน
ไม่อาวรณ์ หลงติด
เชิญขันธ์อยู่ ข้าไป
โลกธรรม ขอลาด้วย
ได้เรียนรู้ โลกธรรม
เป็นสังคม ของคน
ทุกคน โดนบังคับ
อยู่ด้วยกัน บนโลก
ร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน
พอใจ กับเสียใจ
คลุกเคล้า อยู่ทุกวัน
สุขพาหลง ใจติด
ทุกข์ดิ้นรน ต่อต้าน
รู้แล้ว ช่างไร้ค่า
มัวหลงติด โลกธรรม
โลกธรรม สมบัติโลก
พอแล้ว เราขอลา
ขอลา กฎแห่งกรรม
บังคับ ให้เป็นไป
สุขทุกข์ ไปตามกรรม
ทั้งกรรมเก่า กรรมใหม่
ล่วงเกิน แล้วล่วงเกิน
ตามใช้ ไม่รู้จบ
กรรมดี พาให้ชอบ
กรรมชั่ว พาให้หลง
เข้าใจ เหตุแห่งกรรม
เหตุบังคับ ให้เป็น
ผลสุขทุกข์ สับสน
วุ่นวาย สุดวุ่นวาย
โชคดี พบพุทธธรรม
ธรรมชี้ ให้เห็นธรรม
หยุดสุขทุกข์ หม่นหมอง
ภัยจาก ขันธ์ โลก กรรม
ใจนิ่ง อุเบกขา
ปล่อยวาง ทุกสิ่งไป
ใจไม่ติด ผูกพัน
เรียนรู้ เข้าใจธรรม
ขอบใจ ที่ให้เรียน
เรียนจบ สอบเสร็จแล้ว
ไม่ หวนกลับมาอีก
ขอลา ทุกทุกเหตุ
ทิ้งทุกสิ่ง ที่มี
ปล่อยแล้ว ให้เป็นไป
ที่ใหม่ สุดสะอาด
ประกาศไว้ นิพพาน

๕๗ - เตรียมนิพพาน

ปล่อยวาง ทำใจได้
เชิญเลย ตามสบาย
อะไรเกิด ช่างมัน
ใจมี อารมณ์ปล่อย
ปล่อยวาง พร้อมยกให้
ใจปล่อย ว่าง ไม่ติด
อะไรเกิด เชิญเลย
สุขทุกข์ ไม่เป็นไร
เฉยไว้ ปล่อยมันไป
ยกให้ แล้วยกให้
มากน้อย ไม่สนใจ
ปล่อยใจ ให้สบาย
อารมณ์ เหนือสุขทุกข์
สุขทุกข์ คือสุขทุกข์
สุขทุกข์ รับรู้ได้
ธรรมดา เป็นไป
ทำเฉยแล้ว เฉยไว้
ไม่ติด ในอาการ
ใจมีเฉย ปล่อยวาง
ปล่อยทุกสิ่ง เป็นไป
ใจปล่อยเฉย เห็นทาง
เป็นกระแส นิพพาน
ทำบ่อยบ่อย เคยชิน
เตรียมตัว เข้านิพพาน
เห็นพระ พูดคุยได้
มีใหม่ และคุ้นเคย
เข้าใจ สื่อกันได้
แตกต่าง เพียงสภาพ
เป็นอยู่ ที่แตกต่าง
จิตยังเป็น ดวงเดิม
เป็นจิต สำเร็จธรรม
รู้แจ้ง เข้าใจแล้ว
ทำใจได้ สำเร็จ
เหมือนจบ การศึกษา
สิ่งเรียนมา รู้หมด
ยกตน เป็นผู้รู้
เป็นสังคม คนรู้
ย่อมแตกต่าง ไม่รู้
มีสภาพ เป็นทิพย์
ไม่มี ขันธ์ โลก กรรม
จิต ไม่ต้องรับรู้
ไม่มีสิ่ง กวนใจ
มีจิต และอารมณ์
ว่าง สงบ สบาย
ขอเชิญ ให้ทำตาม
ย่อมได้ผล สบาย
อุเบกขา สำคัญ
ต้องมี ประจำตัว
ฝึกใช้ ให้บ่อยบ่อย
ให้ใจ ชินปล่อยวาง
ใจปล่อย ให้มากบ่อย
อะไรมา ปล่อยไป
ช่างมัน เรื่องของมัน
อยู่ ให้มีสติ
ควบคุม สติรู้
ให้รู้ และปล่อยวาง
สุขทุกข์ ไม่สนใจ
ช่างมัน ปล่อยทิ้งไป
เด็ดขาด ต้องทิ้งได้
ใจใสใส เป็นดี
เด็ดขาดไว้ ได้ดี
เอาดี ต้องปล่อยวาง
รางวัล ความสำเร็จ
มอบให้ คือนิพพาน

๕๘ - เป็นพระ

สำเร็จ ได้เป็นพระ
ต้องมี สองอารมณ์
หนึ่งพอ สองยอมรับ
อารมณ์พอ ด้วยใจ
อย่าบังคับ ให้พอ
เสแสร้ง ให้เกิดพอ
ไม่ชอบใจ แล้วพอ
อารมณ์พอ ไม่จริง
ยอมรับ ก็ต้องใจ
ใจยอมรับ จริงจริง
ยอมรับ ด้วยจำใจ
โดนบังคับ ให้ยอม
เกรงใจ ต้องยอมรับ
รับ ไม่บริสุทธิ์
ใจฝืน ธรรมชาติ
ไม่เห็น ธรรมดา
เรียนรู้ ในสิ่งจริง
ธรรมชาติ สอนดี
ไตรลักษณ์ ให้นำหน้า
ทุกสิ่ง เป็นไตรลักษณ์
เข้าใจ ให้ทำใจ
คล้อยตาม ในสิ่งจริง
ยอมรับ ว่าเป็นจริง
หนีไม่พ้น ความจริง
ใจยอมรับ ยอมแล้ว
ยอมจริงจริง ใจยอม
ไม่ฝืน ธรรมชาติ
ปล่อยใจ ตามสภาพ
ไม่ยึดติด ปล่อยวาง
ทั้งดีเสีย ปล่อยไป
ใจพอ ไม่ดิ้นรน
สิ่งชอบ เราพอแล้ว
ไม่ชอบ เราวางด้วย
อารมณ์ต้าน ไม่มี
ไตรลักษณ์ ปักเป็นชัย
เข้าใจ ธรรมไตรลักษณ์
อารมณ์พอ สุขใจ
เฉยเฉย วางใจได้
ไม่ดิ้นรน ใฝ่หา
พอแล้ว สิ่งที่ชอบ
ไม่ชอบ เราก็พอ
ใจสงบ อุเบกขา
ใจยอมรับ ตั้งเด่น
ยอมแล้ว ทุกสภาพ
อะไรเกิด ช่างมัน
สุขทุกข์ ไม่เป็นไร
ไตรลักษณ์ เป็นหัวใจ
สำคัญ การเป็นพระ
เรียนรู้ ในไตรลักษณ์
เข้าใจ ให้แจ่มใส
รู้แล้ว ยอมรับเป็น
ยอมรับ ใจเป็นสุข
ใจทุกข์ รับไม่จริง
หม่นหมอง ก็ไม่ใช่
อารมณ์พอ ยอมรับ
ใช้คู่ ร่วมช่วยกัน
สองแรง พร้อมไตรลักษณ์
ไล่กิเลส พ้นจิต
กิเลสแพ้ สามสิ่ง
ใจพระ เริ่มปรากฏ
พระน้อยใหญ่ เหมือนกัน
เริ่มต้น จุดเดียวกัน
ดำเนิน ไปตามทาง
ไปที่หมาย เดียวกัน

๕๙ - พระลา

ไปเร็ว ตายเร็วดี
ไปช้า ตายช้าแย่
ขยันส่ง ข้อสอบ
อย่าขี้เกียจ หนีงาน
จิตตั้ง ให้มั่นคง
อะไรเกิด ช่างมัน
เป็นอย่างไร ช่างมัน
มันดีเสีย ช่างมัน
ทุกอย่าง ช่างมันหมด
จิตดีเสีย ช่างมัน
อารมณ์สุข ก็ช่าง
อารมณ์ทุกข์ ก็ช่าง
รักษา ความดีเฉย
ให้นิ่ง สงบไว้
ทำใจ ให้ใสใส
ใจเข้มแข็ง อย่าอ่อน
อย่าเกรงใจ สิ่งดี
อย่าเสียใจ สิ่งชั่ว
สติรู้ ให้มั่น
ควบคุม ดูแลไว้
รู้เห็นแล้ว ให้วาง
สิ่งที่รู้ ก็วาง
สิ่งที่เห็น ก็วาง
อย่าเก็บเห็น ใส่ใจ
ใช้เห็นแล้ว ทิ้งไป
ทำใจ ให้ว่างใส
ว่าง ไม่มีอะไร
มีเข้ามา ไล่ไป
สร้างเฉยไว้ ให้มั่น
ไม่เอา ไม่เอาไว้
สิ่งใดมา ไม่เอา
ไล่ไป ให้ไกลไกล
เข้ามา ร้อนเป็นไฟ
อยากได้ ก็ตามมา
โกรธ ก็ตามมาด้วย
กังวล ก็ซ่อนมา
ความฉิบหาย เกิดแล้ว
จิต โดนทำร้ายหนัก
บอบช้ำ ระกำทุกข์
สุขระเริง หลงใหญ่
มั่วอยู่กับ สุขทุกข์
ที่สุด ฆ่าตัวตน
ฆ่าคนอื่น เช่นกัน
ร่วมกัน ฆ่ากันเอง
ของมึงของกู ยุ่ง
กูว่ามึง กูดี
มึงว่ากู กูเสีย
กูดี อยู่ฝ่ายเดียว
ส่วนมึง เสียทั้งหมด
ไม่เห็น ความดีมึง
มึงก็เห็น อย่างกู
กูไม่ดี กับมึง
มึงกู ร่วมกันยุ่ง
จูงกัน ร่วมกันเกิด
โลกนี้ ช่างสวยงาม
มึงกู ร่วมกันสร้าง
เห็นจิตตัว หรือไม่
เห็นยุ่งแต่ นอกตัว
ตัวรู้ หาไม่เจอ
จิตใน มองไม่เห็น
บารมี ไม่ทำ
ข้อสอบ ไม่คิดส่ง
อยากวังวน กับโลก
เชิญเลย พระขอลา

๖๐ - ใจพระ

มีทุกข์ เหมือนไม่ทุกข์
มีสุข เหมือนไม่สุข
รู้ทุกข์ ควบคุมทุกข์
รู้สุข ควบคุมสุข
อรหันต์ ยังรู้ทุกข์
สุข ก็รับรู้ ได้
อรหันต์ ยังรู้เจ็บ
ทุกข์ สบาย ยังรู้
หอม อร่อย ก็รู้
เหม็นรำคาญ ก็รู้
ทรมาน ก็รู้
สมหวัง ผิดหวัง รู้
ใจไม่ติด ในทุกข์
ใจไม่หลง ในสุข
ควบคุมใจ เฉยเฉย
สิ้นพอใจ หนักใจ
วางใจได้ ตรงกลาง
อุเบกขา เจริญ
วางทุกข์ ได้สงบ
ผลสงบ วางด้วย
นิ่งเฉย เหนือสงบ
เหนือสงบ คือว่าง
เห็นโลก อยู่เบื้องล่าง
หมุนวน อลวน
เป็นไป ตามเหตุผล
จิตแจ้ง เข้าใจแล้ว
ละสุข ได้ผลสุข
ผลได้ อุเบกขา
ปล่อยวาง อุเบกขา
จิตเหนือ อุเบกขา
ว่าง ไม่มีอะไร
สิ่งใดมา ว่างหมด
เห็นโลก ยังเวียนว่าย
จิตอยู่เหนือ หมุนวน
เหนือ กาย โลก กรรม ธรรม
มองจิต เป็นใสใส
ภายใน ว่าง สว่าง นิ่ง
สิ้นแล้ว การเวียนเกิด

ปริโยสาน


สุขสวัสดี
ทุกข์สวัสดี