ห้องเรียนธรรมสวัสดิ์

บันทึกการเรียนในห้องเรียนธรรมสวัสดิ์

Topic: 

50-11-25

  • ดูธรรมะของหลวงพ่อโต ท่านให้เหมือนกับว่าพวกเราได้กันแล้ว ลองพิจารณาดูเป็นธรรมะที่กว้างขวางและลึกซึ้ง จะเกิดความเบิกบานในจิตได้มาก
  • ถ้าเราปล่อยให้สภาวการณ์ภายนอกมาควบคุมจิต จิตจะมืด แต่ถ้าเราปล่อยวางได้ จิตจะสว่างไสว
  • หมั่นให้มีสติกำกับรู้อยู่เสมอ ตรวจจิตเสมอ เป็นเหตุให้ตัณหาและอุปาทานลดลงได้
  • คัณหาอุปาทานเป็นเหตุใหญ่ ค่อย ๆ ลดมันลงไปด้วยปัญญา
  • ถ้ารู้แล้วยังไล่ตัณหาอุปาทานไม่ได้ แสดงว่ายังรู้ไม่จริง ยังละไม่ขาด อุปาทานมากเกินไป ระวังมันจะหลบหน้า จะชนะมันได้ต้องให้ลดละ ไม่ใช่ให้มันหลบหน้า
  • มรรคมีองค์ ๘ คือ คิดดี พูดดี และทำดี การพูดดีคือการสาธยายธรรมนั่นเอง ตัวอย่างสูงสุดคือพระพุทธเจ้า พระองค์ท่านทรงมีธรรมะที่หาประมาณมิได้
  • ตัณหาคือความทะยานอยาก คืออยากได้ อยากเป็น และไม่อยากเป็น
  • อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น ยึดเอาไว้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ต้องการ
  • อารมณ์พระอริยเจ้าประกอบไปด้วยการพอและการยอมรับ คือพอในสิ่งที่ดี และยอมรับในสิ่งที่เลว จิตจะสงบในตัวเอง จะมีธรรมะตัว "สักแต่ว่า" เข้ามาแทรกในจิต
  • อารมณ์ "สักแต่ว่า" จะทำให้เกิดความสงบที่แนบแน่นขึ้น สติมั่นคงขึ้น อุปาทานจะลดลง

พาหิยสูตร

"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งสักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ดูก่อนพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล
ดูก่อนพาหิยะ ในการใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มี
ในการใด ท่านไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุท่าน เล่ม๑ ภาค๓ หน้า๑๒๗
จาก ลานธรรมเสวนา: พาหิยสูตร

  • ในความตั้งใจที่จะนิพพานในชาตินี้ ให้ทุกคนถือเอาทุกสิ่งที่กระทบมาเป็นธรรมะทั้งหมด ให้ถือเป็นบทเรียนที่จะต้องผ่านให้ได้ทุกบท
    ให้ถือเสียว่า ...
    • บาปคือธรรมะ บุญคือกิเลส
    • ปัญหาคือธรรมะ ไร้ปัญหาคือกิเลส
    • คำด่าคือธรรมะ คำชมคือกิเลส
  • ความดีทำให้หนักแน่น ความชั่วปล่อยให้ลอยไป ดังนั้นถ้าเกิดปัญหา จงปล่อยปัญหาให้เป็นเรื่องเบา ๆ
  • ทำใจให้เบิกบาน ธรรมะจะเดินง่ายกว่าทำใจให้เศร้าหมอง
  • อดทนต่ออารมณ์ที่ได้รับจากการติ-ชมไว้บ่อย ๆ จนถ้าเห็นว่าการติการชมเป็นของที่เกิดขึ้นธรรมดาในโลก ถ้าเห็นแบบจริงจังแนบแน่นก็เป็นพระอนาคามี
  • คำติคือเสียงสวรรค์ที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเอง แต่อย่าแก้ไขให้ถูกใจคนติ จงแก้ไขให้ถูกต้องตามธรรม
  • การ "สักแต่ว่า" ไว้เสมอ ๆ จะสร้างให้จิตเป็นอุเบกขา เมื่อสะสมบ่อย ๆ เกิดความต่อเนื่อง จิตจะกลายเป็นมีอุเบกขาแบบถาวร
  • ให้ประสบการณ์ในการกระทบทั้งสิ่งไม่ดีและสิ่งดี มาทำให้เกิดความรู้แจ้งแห่งธรรม
  • ให้หัดช่างคิด ช่างวิเคราะห์ (ธัมมวิจยะ) อย่ากลัวการปรามาสจนเกินเหตุ การกลัวเกินไปทำให้ปัญญาไม่แตกฉาน แต่ให้มีสติกำกับความคิดไว้ด้วย
  • ตีให้แตกในเหตุของปัญหา ให้เห็นเบื้องหลังของปัญหา จะเกิดปัญญาที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ คือเกิดความรู้แจ้ง

52-3-1

นิพพาน = การสิ้นสุดของวัฏฏะหรือหายนะแห่งวัฏฏะ
ดับเวทนา = ไม่มีการเสพ
สุข <-------รักษาตรงกลาง(ไม่เสพ)------->ทุกข์
ดี <-------รักษาตรงกลาง(ไม่เสพ)------->เสีย(ไม่ดี)
ดีใจ <-------รักษาตรงกลาง(ไม่เสพ)------->เสียใจ

รักษาตรงกลาง(ไม่เสพ)----> ความสงบ(เป็นทางสายกลาง)

ความสงบมีอยู่ในธรรมชาติ แต่เราติดที่จะเสพสุขเกลียดทุกข์ ทำให้รักษาความสงบไม่ได้
เหมือนน้ำมีอยู่ในธรรมชาติ แต่มีสิ่งที่ทำให้น้ำสั่น หรือกระเพื่อม

เริ่มจาก-->เสพน้อยลง-->วางไปเรื่อย(ถ้าหยุดได้ จะเกิดช่องว่าง)-->ปัญญาวิมุติเกิด
เบื้องต้น ต้องมุ่งอานิสสงส์เพื่อหล่อเลี้ยงใจ-->เบื้องสูง(บัวพ้นน้ำ)ไม่ต้องการอานิสสงส์มารบกวนใจ
"สุขใดเทียบเท่าความสงบสุข ไม่มี" หรือ สุข-สงบ-เบิกบาน(สิ้นทุกข์ที่เรากังวล)

พุทธะ ทำให้พลังความคิดแกร่ง
นั่งสมาธิ--->สงบแบบโลกีย์
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ตัดกิเลส สอนด้านปัญญาแยะมาก แต่พระสูตรนิดเดียว
ท่านสอนว่า อย่าเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์ แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่าใช่ ต้องขอบพระคุณท่าน

เพ่งโทษ = ปรามาส
โทษแรก = เราเกิดโทสะ
โทษที่สอง = พุทธะเราดับ

ผลของขยะ
1."เราพอ" = ไม่ขวนขวาย ไม่ดิ้นรน ไม่ไขว่ขว้า
2."ไม่เป็นไร" = อารมณ์เสียดายยังมี แต่ก็ให้ได้
3."เอาไปเลย" = อารมณ์เสียดายไม่มี ไม่มีอะไรขวางในใจ ไม่เสียดาย ไม่ค้างในใจ
เอาไว้เฉพาะจำเป็นต้องใช้ ที่เหลือยกให้ได้
จากระดับ"เราพอ"ถึง"ไม่เป็นไร"ยาก ใช้เวลานาน แต่..
จากระดับ"ไม่เป็นไร"ถึง"เอาไปเลย"ง่าย ใช้เวลาไม่นาน

ฝึกไป-->รู้แจ้งไป-->ฝึกไปเรื่อยๆแทบจะไม่มีมิจฉาทิฐิ-->ละวางไปเรื่อยๆ

ทุกข์มาก-->ปรุงแต่งมาก-->ยึดติดมาก ในทางกลับกัน
ปฏิบัติมาก-->ปรุงแต่งน้อย-->ยึดติดน้อย

ทุกวันก่อนนอนวันละ1ชม.อย่างน้อย(ว่างจากการงาน)-->ทบทวนดูว่าอะไรมากระทบในวันนี้ หรือ
เบื้องหลังตุ๊กตา/เบื้องหล้งธรรมะคืออะไร
"ธรรมใด เกิดแต่เหตุ"เหตุอะไร อารมณ์อะไร สุข/ทุกข์ แยกออกจากกัน -->ว่าง สงบ

อ.ยกตัวอย่างว่า ทำไมจึงมีคนมาเรียนธรรมะ ยอมทิ้งเวลาทำมาหากิน
"ศรัทธา"เป็นตัวตั้ง เป็นพลังขับเคลื่อน
--->ศรัทธาในตัวอาจารย์ แต่ถ้าเป็นคนอื่นมาสอน ก็คงไม่มาเรียน
--->ศรัทธาแบ่งออก
....1.ศรัทธาภายนอก คือศรัทธาบุคคล รักษาไว้ด้วยกตัญญู
....2.ศรัทธาภายใน ต้องแข็งแกร่ง มั่นในสิ่งนั้น
ศรัทธานอก+ใน ต้องผสมผสานกันเป็นหนึ่ง

เลือกระหว่าง"ความจำเป็น"หรือ"ความมีค่า"
--->เลือก"ความมีค่า"จึงเลือกเรียนมากกว่าขายของ

เน้น"มั่นกับสิ่งใด สิ่งนั้นก็มั่นกับเรา ปฏิบ้ติแบบเอาจริง ก็ได้ของจริง"

"ปุ๋ย" ของพระพุทธองค์ คือ มุ่งดี ตั้งใจดี คิดดี พูดดี ทำดี
(มีอาวุธดี ผู้สนับสนุนดี)

ถ้าเพ่งโทษ ก็ทำลายปุ๋ย
ปรามาส ==> สบประมาท มองหาจุดที่จะโจมตี ทำลาย ดูถูกเหยียดหยาม ขาดความเคารพ ยำเกรง
เนรคุณ ==> ดูถูกที่พื้นฐานแรก แทนที่เราจะคิดว่าเป็นฐานให้เราคิดต่อ
แต่เราเนรคุณ ทำให้ฐานเสีย ต้องเปลี่ยนความคิดเป็น "ฐานเสีย ก็ขอขอบคุณ(ขอบคุณได้คือ
"สำนึก"ในความดีของเขา)ที่เป็นฐานให้เราคิดต่อ"หรือถ้า"ฐานดี ก็ขอขอบคุณที่เป็นฐานให้เรา"

ปรับจิตก่อน เช่นเสียใจกับการกระทำของเรา แล้วปรับความประะพฤติทีหลัง