๔. เชื่อ นับถือ

คำเล่าลือ น้อมให้เชื่อ ไม่จริง
เราต้องได้เห็น พิสูจน์ ก่อนเชื่อ
เชื่อในความเป็นเลิศ ผู้รู้แจ้ง
เชื่อปัญญาบริสุทธิ์สะอาด
เชื่อสามารถนำสัตว์ข้ามวัฏฏะ
พิสูจน์ได้ ทำตาม ย่อมเข้าใจ
หวังได้ลาภ ให้สมปาฏิหาริย์
ยอมกราบไหว้บูชา เพราะกิเลส
หากไม่ได้ดั่งใจ เลิกเชื่อถือ
ศรัทธาปลอม มีโทษ เป็นปรามาส
อย่าหลงเชื่อ นับถือ ปาฏิหาริย์
หรือสิ่งที่เราพิสูจน์ไม่ได้
เราต้องมีจุดมุ่งหมาย
และกำลังปฏิบัติ เพื่อจุดหมาย
มองเห็นเข้าใจ เป็นนักฟังที่ดี นักคิดที่ดี นักปฏิบัติที่ดี
ไม่มีมานะทิฏฐิ ถือตัวถือตน
เราต้องได้ความสุข จากการปฏิบัติธรรม
เข้าใจและทำใจได้ รู้ซึ้งถึงความสุขแห่งธรรม
สุขที่เรามีได้ ย่อมรู้อยู่ว่า คนอื่นผู้ที่สอนเรา
ย่อมมีสุขเช่นเดียวกับเรา หรือมีสุขมากกว่าเรา
เรายินดียอมรับ รับรู้ นับถือ ยกย่อง
เป็นธรรมปีติศรัทธา
เหมือนเรามีความสุข ในความมั่งมีเงินทอง
เราจะเข้าใจในความสุขนั้น
และรู้อยู่ว่า คนอื่นที่มีเงินทองเหมือนเรา
หรือมีมากกว่าเรามากมาก
เขาย่อมมีความสุข เช่นเดียวกับเรา
หรือมีความสุข มากกว่าเรา
เราเข้าใจ ยอมรับ นับถือ ยกย่อง
ระวัง ศรัทธาด้าน
เรายินดี ที่เขาได้สุขเหมือนเรา
หรืออิจฉา ที่เขาได้ดีกว่าเรา
หรือหมั่นไส้ที่เขาทำดีเกินเรา
หรือใจด้านด้าน ไม่รับรู้ ไม่สนใจ
ศรัทธาเป็นบ่อเกิดแห่งความยินดี ดีใจ
และได้เป็น โมทนาธรรมอันสะอาด
ถ้าเราไม่มีความสุขแห่งธรรม
เราจะไม่เข้าใจความสุข ความสงบ ปลื้มปีติของคนอื่น
เหมือนเราไม่มีเงินทอง ย่อมจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ
ความสุข ความเบาใจ ในความมั่งมีเงินทองนั้น
สุขเป็นธรรม ทุกข์ก็เป็นธรรมเช่นเดียวกัน
เข้าใจวิถีสุข ทุกข์ก็มีวิถีของทุกข์เหมือนกัน
พิจารณาแนวคิดเดียวกัน เพียงแต่ต่างขั้วเท่านั้น
เรายอมรับนับถือ ในความเป็นยอดคนใต้ต้นโพธิ์
ถ้ากลัว ไม่สำเร็จ กล้าแกร่ง สำเร็จได้
พูดให้เชื่อ หรือทำให้เชื่อ
มหาบุรุษโพธิญาณพระพุทธเจ้า มีทั้งสองอย่าง
สมบูรณ์ สะอาด ยอดเยี่ยม