๓. ทางตรง

ทุกสิ่งมีสุขมีทุกข์ มีสะดวกมีขัดข้อง
สร้างเฉยในสุข เฉยในทุกข์
รับรู้สึกสุขและทุกข์ สร้างเฉยไม่สนใจ
เกิดความสงบสุข สงบทุกข์
อารมณ์เบา สบายสบาย ว่างว่าง เบิกบาน
จิตนี้ที่เราต้องการ
พอใจในสุข เราจะหลง
ขัดใจในทุกข์ เราหม่นหมอง
เราติดสุขติดทุกข์ ผิดแนวทาง
ต้องไม่สนใจ ไม่คิดถึงมัน
ใจแกร่งกล้าและไม่สนใจ เป็นแนวหนึ่งของอุเบกขา
มันจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ไม่สนใจ
ใจฝ่อ ใจแป้ว เป็นแพ้มาร
อย่าให้ใจมีความเศร้าหมอง
ใจต้องมีพลัง ความฮึกเหิม
ใจเป็นสองขั้ว เศร้าหมอง หรือแกร่งกล้า
เกิดอะไร เป็นอะไร ไม่สนใจ ใจต้องแกร่ง
ความไม่สนใจ ทำได้ยาก แม้ใจอ่อนแอ
จะหนาวจะร้อน จะรวยจะจน ไม่สน
จะดีจะเลว จะป่วยจะตาย จะสุขจะทุกข์ ไม่สน
จิตจับสุข เป็นได้สุข จิตจับทุกข์ เป็นได้ทุกข์
ต้องไม่สนใจ ว่าจะสุขจะทุกข์ ช่างมัน
สุขคือปัญหา ทุกข์ก็เป็นปัญหา
ทุกข์เมื่อเข้าสู่ใจแล้ว ฆ่าให้ตายยาก
แต่สามารถไล่ออกไปได้
สุขเข้ามาแล้วเป็นหลง แต่ก็ไล่ออกไปได้
สุขทุกข์ฆ่าไม่ตาย มีไว้ เป็นปัญหา
หาความสงบไม่ได้ อย่าเก็บไว้ ไล่ให้พ้นออกจากตัวเรา
หมดปัญหาหนึ่ง จิตสบายหนึ่ง
ตัดปัญหาโดยไม่สนใจ ช่างมัน
หมดสิ้นปัญหา จิตสบายที่สุด ความสงบเบิกบานเกิด
ก่อนไม่สนใจ ต้องผ่านไม่เอา ไม่คิด ไม่ติด
พอ หยุด ปล่อย ได้สงบเข้าใจ จิตแจ่มใสเบิกบาน
รักษาอารมณ์สงบไว้ ทำใจให้เบิกบาน
สุขทุกข์เป็นของหนักที่ต้องแบก
คนแบกของหนัก แบกภาระ แบกอารมณ์
ย่อมไม่มีเวลาโอกาสได้คิดสิ่งดีดี
ต้องพะวงอยู่กับการแบก รับภาระของหนักลำบาก
ไม่มีใจจะมาคิด สมองส่วนสร้างสรรค์ไม่ทำงาน หรือทำงานน้อยไป
เช่นเราแบกสุขทุกข์ของร่างกาย
แบกโลกธรรม แบกกฎแห่งกรรมไว้
เราผูกติด ยึดติด กับสุขทุกข์ของร่างกาย
ภาวะหนักเกิดไป ความคิดดีดี สร้างสรรค์ ย่อมไม่เกิด
ความรู้แจ้งแห่งธรรม จึงน้อยไป หรือไม่มีเลย
จงทำตัวให้เบาจากสุขทุกข์ ของร่างกาย โลกธรรม กฎแห่งกรรม
ลดการผูกติด ยึดติด แล้วปัญญาดีดี ก็จะเกิด
ยามป่วยหนัก หิวจัด ยามสุขมากมักหลง ทุกข์มากมักหม่นหมอง
ความคิดดีดี ย่อมเกิดยาก หรือไม่เกิดเลย
ความพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป
เหมือนเราวางภาวะลงได้
จิตพัฒนาด้านความคิดดี มีเหตุผลดี ปัญญาดี
ศรัทธา ความเข้าใจ การยอมรับ
เป็นกำลังสำคัญ เสริมให้เกิดปัญญาดี