๑. ทางมรรค

ความตั้งใจดี มุ่งดี มีสติมรรค
มรรคเป็นเส้นทาง สู่ความสำเร็จ
มรรคเป็นที่รวมดีดี ความถูกต้อง
ความตั้งใจดี คิดดี พูดดี การกระทำดี
มุ่งดี ตั้งใจดี สติดี มรรคดีจึงเกิด
ทำดี มีอุปสรรค อย่าท้อ อย่าถอดใจ
กำลังใจ ต้องตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ทำดีแล้ว จงภูมิใจ ในความดี
ปลาบปลื้มปีติยินดี ได้ผลจากทำดี
จงเป็นสุขจากคิดดี พูดดี ทำดี
ดีมากหรือดีน้อย จงภูมิใจ ที่เรามีดี
ทำดี ใจไม่ปลื้ม คือขาดทุน
ทำดี ปลื้มใจไม่หวังผล ผลได้คือเบิกบาน
จงเป็นผู้ให้ ให้ดีออกจากตัวเรา
ให้คำพูดดี ให้การกระทำดี
มรรคดี เกิดจากให้
มัวแต่ขอรอรับ มรรคไม่เกิด
ให้ไม่เป็น ใจมืด รู้แจ้งไม่มี
สร้างจิตให้คิดดี มุ่งดีมีเป้าหมาย
มีสติดี คิดดี ก่อนจะพูด ก่อนจะทำ
พูดช้าได้ผล ดีกว่าพูดเร็วขาดสติ
ก่อนจะพูดจะทำ ต้องคิดก่อน ดูผลกระทบ
ไม่ระวังอาการ องค์มรรคจะเสีย
ผิดพลาดจนเคยชิน เป็นนิสัย
เป็นมรรคปลอม หลงหลอกตัวเอง
หลงทางหลงผิด คิดเข้าข้างตัว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ สิ้นแล้วมรรคผล
จงเตือนตนเสมอ ให้ใจคิดดี พูดดี ทำดี
มีสติสัมมาทิฏฐิ มุ่งสู่มรรคผล
ความมั่นใจ เป็นฐานของความสำเร็จ
ขาดกำลัง ขาดประสบการณ์ ย่อมขาดความมั่นใจ
สร้างดีให้มีกำลัง อย่าหนีประสบการณ์
เหตุสุขเหตุทุกข์ สอนเราให้ฉลาด รู้แจ้ง รู้ทัน
เอาแต่สุข ทุกข์ไม่เอา ขาดปัญญารู้จริง
ต้องรู้สภาวะ ทั้งสองอย่าง รับได้ ทนได้ อยู่ได้
เรียนรู้ แก้ไข ให้ถูกต้อง
ตั้งมรรคดีไว้นำหน้า เสริมกำลังให้แกร่ง
ไม่ท้อ ไม่ถอดใจ ไม่ใจฝ่อ
ยิ้มได้ทุกสภาพประสบการณ์
นานนานวันเกิดชำนาญ เข้าใจรู้แจ้ง
รู้ทันทุกสภาพของกาย โลกธรรม กฎแห่งกรรม
เชื่อมั่นในแนวคิด การละวาง ปลดปล่อย
เชื่อมันและมั่นใจ ทางมรรคผล
ความมั่นใจ เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติ
ขาดความมั่นใจ ทุกสิ่งดูล้มเหลว
มรรคสร้างให้เกิดความมั่นใจ
จงตั้งใจดี คิดดี พูดดี ทำดี ในแนวพรหมวิหาร

 
สัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบ (ปัญญา)
สัมมาสังกัปปะ
ความดำริชอบ (ปัญญา)
สัมมาวาจา
การเจรจาชอบ (ศีล)
สัมมากัมมันตะ
การทำชอบ (ศีล)
สัมมาอาชีวะ
การเลี้ยงชีพชอบ (ศีล)
สัมมาวายามะ
ความเพียรชอบ (สมาธิ)
สัมมาสติ
การตั้งสติชอบ (สมาธิ)
สัมมาสมาธิ
มีสมาธิชอบ (สมาธิ)